วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ผู้ป่วยติดกัญชา

7.ผู้ป่วยติดกัญชาในวัยผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่เป็นช่วงที่ยาวนานที่สุดในวงจรชีวิตมนุษย์ เป็นวัยที่มีโอกาสแสดงความสามารถอย่างเต็มที่ วัยผู้ใหญ่เริ่มจากอายุประมาณ 21 ปีขึ้นไป อาจแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ วัยผู้ใหญ่ตอนต้น หรือวัยฉกรรจ์ ( 21-40 ปี) วัยผู้ใหญ่ตอนกลางหรือวัยกลางคน ( 41- 60 ปี ) และวัยผู้ใหญ่ตอนปลายหรือวัยชรา ( อายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ) วัยผู้ใหญ่เป็นวัยที่ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา สังคม เข้าระเบียบหมดทุกอย่าง มีการวางแผนและเป้าหมายของชีวิตแล้วความมีวุฒิภาวะเต็มขั้นหรือเรียกกันทั่วไปว่า ความเป็นผู้ใหญ่ นั่นอาจ เป็นระยะที่สามารถปรับตัวแก้ปัญหา สังสรรค์กับบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อมได้อย่างดี มีงานทำ มีครอบครัว มีสถานะเป็นพ่อแม่ โดยทั่วไปเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ มักจะต้องปรับตัวให้เข้ากับแบบแผนของสังคม ไม่ว่าจะเป็นในด้านการหาคู่ครอง การแต่งงาน ค่านิยม ความสนใจ ความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อครอบครัวและสังคม ตลอดจนพฤติกรรมต่างๆ จะแสดงออกอย่างเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น นอกจากนี้ยังต้องปรับตัวต่อปัญหาด้านสุขภาพของร่างกาย ต่อฐานะทางเศรษฐกิจ สังคมของตนเองและของครอบครัวอีกด้วย การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจ อายุราว 18 - 22 ปี ร่างกายจะเจริญสมบูรณ์เต็มที่ และคงตัวอยู่ระยะหนึ่งในช่วงต้นๆ ของวัยฉกรรจ์ จากนั้นเซลล์และอวัยวะต่างๆ ของร่างกายจะค่อยๆ เสื่อมลงทีละน้อย พอเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง คือ อายุราวๆ 40-60 ปี นั้น อวัยวะหรือร่างกายบางส่วนจะแสดงให้เห็นความเสื่อมโทรมบางอย่างนั้นก็อาจจะยังมองไม่เห็นชัดเจนจนกว่าจะถึงวัยชรา พอย่างเข้าในระหว่างอายุ 40 - 55 ปี การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่แสดงออกชัดเจนทางพฤติกรรม คือการลดน้อยลงของฮอร์โมนเพศ ซึ่งเรียกระยะนี้ว่าวัยเสื่อม ( Menopause ) จะเกิดขึ้นทั้งเพศชายและเพศหญิง ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ ระยะนี้มักพบว่ามีอารมณ์รุนแรง หงุดหงิด บางคนซึมเศร้า บางคนร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ บางคนอาจมีอาการทางจิตมากจนต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ มีความไม่สบายทางกายต่างๆ ผู้ชายวัยผู้ใหญ่ การเปลี่ยน แปลงทางกายวิภาคของอวัยวะเพศ ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยามากนัก ฉะนั้นฮอร์โมนของเพศชายอาจไม่ได้ลดลงหรือลดลงเพียงเล็กน้อย กำลังกายอาจจะลดลงกว่าเดิม แต่ความรู้สึกทางเพศส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน อาจจะรู้สึกแต่เพียงว่าสู้เมื่อก่อนไม่ได้เท่านั้นเอง
ผู้ชายวัยผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะเคลื่อนไหวช้า ทำอะไรช้าลง ผิวหนังเริ่มเหี่ยวย่น เนื่องจากไขมันใต้ผิวหนังในส่วนต่างๆ ลดน้อยลง ยกเว้น บริเวณหน้าท้อง ดวงตาไม่สดใสเพราะเยื่อบุลูกตาและบุท่อน้ำตามีการเหี่ยวแห้ง ระดับความรู้สึกทางตาและหูจะเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทำให้สายตาเปลี่ยนแปลง
ไม่มีความฉับไวในการรับภาพ มองไม่เห็นวัตถุหรืออักษรตัวเล็กๆทำให้การอ่านการเขียนช้าทั้งๆที่ใช้แว่นตาช่วยแล้ว มีสายตามัวเมื่อมองของใกล้ ที่เรียกว่า สายตายาว การรับฟังเสื่อมลง ถ้าเป็นเสียงเบาและจะไม่ค่อยได้ยิน และความสามารถในการรับกลิ่นและรสก็จะลดลงด้วยเช่นกัน
สิ่งที่เป็นปัญหาที่สุดของผู้ใหญ่สรุปได้ดังนี้
1. การสูญเสียคู่ครอง
2. ความเสื่อมโทรมของร่างกายเริ่มแสดงออก
3. โรคเรื้อรังและอันตราย เช่น มะเร็ง
4. ลูกๆมีครอบครัวหรือแยกไปทำมาหากินในที่อื่น
5. ภาวะของวัยเสื่อม ที่เกิดขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจ
6. ความรู้สึกทางเพศและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป
7. กำลังกายลดถอยลง
8. สุขภาพเสื่อมโทรมลง
9. ความรู้สึกว่าตนเองไร้คุณค่า
8. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
8.1 ทฤษฎีการถดถอยจากสังคม (Disengagement Theory) คือ กระบวนการของผู้ติดยาเสพติดจะมีลักษณะเฉพาะ คือ ส่วนใหญ่จะค่อย ๆ หนี หรือถดถอยออกไปทีละน้อย ๆ จากคนอื่น ๆ ในสังคม ทฤษฎีนี้ไม่ได้บ่งชี้ว่าผู้ติดยาเสพติดหรือสังคมเป็นผู้ที่ถอยหนี ฉะนั้นถ้าสิ่งแวดล้อมดี ลักษณะสังคมดี มีการยอมรับ เปิดโอกาส ส่งเสริม ให้ผู้ป่วย เข้ามาร่วมในสังคมที่ดีจะมีการปรับตัวในสังคมมากกว่าการถดถอยจากสังคม
8.2 ทฤษฎีการมีกิจกรรมร่วมกัน (The Activity Theory) คือ การดำเนินชีวิตและทำกิจกรรมต่างๆได้ ให้เหมาะสมตามวัยผู้ใหญ่ และสามารถอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่าและมีความสุขต่อไป
8.3 ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Continuity Theory) คือ ทฤษฎีที่เชื่อว่า ความสุขของวัยผู้ใหญ่ในการได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพและแบบแผนการดำเนินชีวิตของแต่ละคน เช่น ผู้ใหญ่ที่ชอบกิจกรรมร่วมกันในสังคม ก็จะมีกิจกรรมเหมือนเดิมเมื่อมีอายุมากขึ้น ส่วนวัยผู้ใหญ่ที่ชอบสันโดษ ไม่เคยมีบทบาทในสังคมมาก่อน ก็ย่อมจะแยกตัวออกมาจากสังคมเมื่ออายุมากขึ้น ทฤษฎีนี้มีหลายรูปแบบที่วัยผู้ใหญ่จะแสดงออกมา รูปแบบนั้นจะสะท้อนถึงปฏิกิริยาซับซ้อนระหว่างบุคลิกภาพของแต่ละคนและสภาพแวดล้อมของสังคมรูปแบบของการตัดสินใจของทฤษฎีนี้ เน้นที่ บุคลิกภาพ กิจกรรม และความพอใจในชีวิต บางท่าน เรียกทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีบุคลิกภาพ (Personality theory)
8.4 ทฤษฎีอีริกสัน (Erikson Theory) คือ ทฤษฎีที่อธิบายถึงการพัฒนาของคน ซึ่งแบ่งได้เป็น 8 ระยะ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยสูงอายุ ซึ่งในระยะที่ 7 อยู่ในช่วงอายุ 25-60 ปี เป็นช่วงวัยที่มีความทะเยอทะยาน มีความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ ต้องการสร้างความสำเร็จในชีวิต ถ้าวัยผู้ใหญ่ประสบความสำเร็จดี จะรู้สึกพอใจในความมั่นคง ภาคภูมิใจตัวเองและสืบทอดต่อ ๆ ไป ยังรุ่นลูกหลาน แต่ถ้าไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต เบื่อ ขาดความกระตือรือร้น จากทฤษฎีดังกล่าวต้องมีความรู้และเข้าใจใน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น