วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คำขวัญเกี่ยวกับยาเสพติด

                      "อย่าคะนองลองยาเสพติด พลาดเพียงนิดชีวิตพังทลาย "
                      "ไม่เสพ ไม่ขาย ไม่ลอง คำนี้ต้องจำขึ้นใจ "
                      "ความรักความเข้าใจของครอบครัว นำสิ่งชั่วพ้นจากไป "
                      "เด็กรุ่นใหม่ ห่างไกลยาเสพติด "
                      "ประเทศไทยจะรุ่งเรือง ถ้าพลเมือง ไม่พึ่งยาเสพติด"
                      "วัยรุ่นไทย ห่างไกลยาเสพติด "

                      "ยาเสพติด คือมารร้าย บ่อนทำลายสังคมไทย"

                      "เลิกสูบ เลิกเสพ ในวันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีในวันหน้า"

                      "ยาเสพติด ทำลายชีวิต สังคมมืดมิด ถ้าคิดติดยา"

                      "ยาเสพติดคือยาพิษ เสพชีวิตจะวอดวาย"

                      "ก้าวแรกที่ขึ้นเมรุ เริ่มจากมวนแรกที่คุณสูบ"

                      "ดูดนมสดจากเต้า มีประโยชน์กว่าดื่มเหล้า สูบบุหรี่"

                      "ปัญหาสมองเสื่อม เพราะพิษภัยยาเสพติด"

                      "นึกถึงครอบครัว ก่อนคิดจะลองยา"

                      "คนใดเป็นทาสยาเสพติด ทั้งเหล้า บุหรี่ ทั้งชีวีไม่เคยแพ้นรก"

                      "ประเทศไทยจะรุ่งเรือง ถ้าพลเมือง ไม่พึ่งยาเสพติด"
                      "ยาเสพติดมีพิษร้าย บ่อนทำลายชาติให้ล่มจม "
                      "ชีวิตจะย่อยยับ หากคุณรับยาเสพติด "

                      "หากคุณรักครอบครัว อย่ามัวเมายาเสพติด "
                     

โทษและพิษภัยของสารเสพย์ติด

 เนื่องด้วยพิษภัยหรือโทษของสารเสพติดที่เกิดแก่ผู้หลงผิดไปเสพสารเหล่านี้เข้า            

           ซึ่งเป็นโทษที่มองไม่เห็นชัด เปรียบเสมือนเป็นฆาตกรเงียบ ที่ทำลายชีวิตบุคคลเหล่านั้นลงไปทุกวัน            

           ก่อปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสุขภาพ ก่อความเสื่อมโทรมให้แก่สังคมและบ้านเมืองอย่างร้ายแรง            

           เพราะสารเสพย์ติดทุกประเภทที่มีฤทธิ์เป็นอันตรายต่อร่างกายในระบบประสาท            

           สมอง ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการของร่างกายและชีวิตมนุษย์ การติดสารเสพติดเหล่านั้น

           จึงไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นแก่ร่างกายเลย แต่กลับจะเกิดโรคและพิษร้ายต่างๆ จนอาจทำให้เสียชีวิต 

           หรือ เกิดโทษและอันตรายต่อครอบครัว  เพื่อนบ้าน สังคม และชุมชนต่างๆ ต่อไปได้อีกมาก

           โทษทางร่างกาย และจิตใจ



                     1. สารเสพติดจะให้โทษโดยทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมโทรม            

                         พิษภัยของสารเสพย์ติดจะทำลายประสาท สมอง ทำให้สมรรถภาพเสื่อมลง มีอารมณ์            

                         จิตใจไม่ปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น วิตกกังวล เลื่อนลอยหรือฟุ้งซ่าน            

                         ทำงานไม่ได้ อยู่ในภาวะมึนเมาตลอดเวลา อาจเป็นโรคจิตได้ง่าย



                     2. ด้านบุคลิกภาพจะเสียหมด ขาดความสนใจในตนเองทั้งความประพฤติความสะอาด

                         และสติสัมปชัญญะ  มีอากัปกิริยาแปลกๆ เปลี่ยนไปจากเดิม



                     3. สภาพร่างกายของผู้เสพจะอ่อนเพลีย ซูบซีด หมดเรี่ยวแรง ขาดความกระปรี้กระเปร่า

                         และเกียจคร้าน  เฉื่อยชา เพราะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปล่อยเนื้อ ปล่อยตัวสกปรก 

                         ความเคลื่อนไหวของร่างกายและกล้ามเนื้อต่างๆ ผิดปกติ



                    4. ทำลายสุขภาพของผู้ติดสารเสพติดให้ทรุดโทรมทุกขณะ เพราะระบบอวัยวะต่างๆ 

                         ของร่างกายถูกพิษยาทำให้เสื่อมลง น้ำหนักตัวลด ผิวคล้ำซีด เลือดจางผอมลงทุกวัน



                     5. เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เพราะความต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหรือเจ็บไข้ได้ง่าย            

                         และเมื่อเกิดแล้วจะมีความรุนแรงมาก รักษาหายได้ยาก



                     6. อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง            

                         ใจลอย ทำงานด้วยความประมาท และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุตลอดเวลา



                     7. เกิดโทษที่รุนแรงมาก คือ จะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ถึงขั้นอาละวาด เมื่อหิวยาเสพติดและหายาไม่ทัน            

                         เริ่มด้วยอาการนอนไม่หลับ น้ำตาไหล เหงื่อออก ท้องเดิน อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก            

                         กระวนกระวาย และในที่สุดจะมีอาการเหมือนคนบ้า เป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม


มีปัจจัยที่สำคัญๆ แบ่งออกเป็น 2 ประการคือ

1. ปัจจัยที่เกิดจากตนเอง คือ ขาดความรู้ ความเข้าใจ การแก้ปัญหาต่างๆ  ที่ผิดวิธี การมี

               ค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง ตลอดจนการขาดความเข้มแข็งของพลังจิต หรือกำลังใจในการต่อสู้กับอุปสรรค

               หรือความกดดันในชีวิต  ตลอดจนการไม่มีทักษะในด้านมนุษยสัมพันธ์ และการสื่อสารกับผู้อื่น 

               ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ไม่ถูกต้อง



 
ในแหล่งชุมชนแออัดมีโอกาสทำให้เกิดการมั่วสุมได้


        2. ปัจจัยที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สังคม ครอบครัว สถานศึกษา เพื่อน การสื่อสารต่าง ๆ 

               สื่อมวลชน และสภาพของสังคมรอบ สิ่งแวดล้อมเหล่านี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อการชักนำเข้าสู่

               การเสพสารเสพติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแหล่งเสื่อมโทรมจะเห็นปรากฏชัดมาก

               จึงเป็นเหตุให้นักเรียน/นักศึกษา ในแหล่งชุมชนแออัดติดสารเสพติดได้ง่ายและมากกว่าแหล่งอื่น

               ดังนั้นการติดยาเสพติดส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้



                      1) การที่บุคคลนั้นมีโอกาสอยู่ใกล้ชิดกับยาเสพติดและโดยวิชาชีพของเขา ทำให้มีความ

                          สนใจในสรรพคุณของยาเหล่านั้น สามารถหยิบยาเสพติดมาใช้ได้สะดวก

                          เมื่อมีความรู้สึกแปรปรวนทางอารมณ์  เช่น หงุดหงิด ไม่สบายใจ มีความเครียด กลัดกลุ้ม 

                          นอนไม่หลับ ก็หันเข้าหายาเสพติดโดยตั้งใจจะให้ระงับอาการทุกข์ทรมานดังกล่าว   

                          ต่อมาเมื่อมีการใช้ยาเพื่อระงับอาการดังกล่าวติดเป็นนิสัย และได้ใช้ยาบ่อยครั้งเข้า

                          ก็เพิ่มปริมาณยามากขึ้นเรื่อยๆ  ก็จะกลายเป็นผู้ติดยาในที่สุด


                      2) การอยู่ใกล้ชิดกับผู้ติยาเสพติด การที่ได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดยาเสพติดนั้น

                          ย่อมมีโอกาสได้ศึกษาเรื่องยาเสพติด และสรรพคุณของยาเสพติดโดยทางประสบการณ์ตรง

                          และมักจะเห็นแต่ส่วนที่เป็นประโยชน์ที่ผู้เสพจะชี้แนะ และสำแดงให้เห็นเป็นส่วนใหญ่

                         โอกาสที่ผู้นั้นจะถูกชักชวนให้เริ่มใช้ยาย่อมมีได้มาก เพราะว่าผู้ติดยาเสพติดเองก็ปรารถนา

                          จะได้สมาชิกใหม่ๆ  มาร่วมวง เพื่อได้อาศัยทรัพย์ของผู้เสพติดใหม่มาซื้อยาเสพติดแบ่งกันเสพ            

                          ทางด้านผู้ริเริ่มเสพยาใหม่ ๆ ซึ่งเป็นเด็กวัยรุ่น ก็มีความโน้มเอียงที่จะกระทำตามคำชักชวน

                          ชักจูงเป็นทุนอยู่แล้ว  เพื่อแลกกับการได้เพื่อน ได้เป็นที่ยอมรับของเพื่อน และเพื่อแสดง

                          การปรับตัวให้เข้ากับเพื่อน ๆ นอกจากนี้การบังคับหรือหลอกลวงให้เริ่มใช้ยาก็มีอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน            

                          สำหรับผู้ที่คลุกคลีอยู่กับยาเสพติด

   3) การใช้ยาอันตราย เพื่อช่วยลดปัญหาผู้ติดยาเสพติดเป็นจำนวนมากเริ่มด้วยการใช้ยาระงับประสาท            

                          เพื่อให้คลายความเครียด คลายความกังวล และความกลัดกลุ้มเนื่องจากปัญหาเรื้อรังในชีวิตประจำวัน            

                          โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กวัยรุ่นมักจะประสบปัญหาทางครอบครัวสารพัดอย่าง เช่นปัญหาเศรษฐกิจ 

                          ความยากจน การแตกแยกของครอบครัว การทะเลาะเบาะแว้งตบตีระหว่างบุคคลในครอบครัว            

                          ความไม่เข้าใจกันระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก เป็นต้น โรงเรียนก็เป็นอีกสังคมหนึ่งของเด็ก            

                          เป็นสังคมที่เด็กต้องใช้ชีวิตท่ามกลางสมาชิกหน้าใหม่ที่มิได้เกี่ยวดองทางสายโลหิต            

                          เป็นสังคมที่เด็กต้องใช้ชีวิตอยู่กับระเบียบ ธรรมเนียม ประเพณี และจารีตของสังคมนั้น            

                          โรงเรียนเป็นสังคมแรกเริ่มที่เรียกร้องให้เด็กต้องยอมรับนับถือในสิทธิและหน้าที่ของบุคคลอื่น            

                          ความรู้สึกว้าเหว่ทางใจ การขาดความอบอุ่น และความรู้สึกไม่ปลอดภัย จึงอาจเกิดขึ้นกับ

                          เด็กวัยรุ่นในระหว่างที่อยู่ในโรงเรียน  ทำให้เกิดความกังวล และไม่เป็นสุข เพื่อบรรเทา

                          ความกังวลและเป็นทางออกของเด็กที่มีปัญหาเหล่านั้น เด็กก็จะหันเข้าหายาระงับประสาท 

                          บางรายสมัครใจสูบกัญชา เฮโรอีน และบุหร  เพียงเพื่อสนุกกับเพื่อนๆ เท่านั้น ส่วนบางรายใช้

                          ยาเสพติดเพราะเพื่อนๆ  แนะนำว่า ใช้แล้วจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการ "ล่มปากอ่าว" โดยช่วยให้

                          สามารถร่วมประเวณีได้ทนนาน  จะด้วยกรณีใดก็ตาม เมื่อเด็กได้ใช้ยาบ่อยเข้าไม่นาน

                          ก็จะเกิดการติดยา



                      4) ความอยากรู้อยากเห็น ธรรมชาติของเด็กวัยรุ่นหนุ่มสาว ความอยากรู้อยากเห็น            

                          อยากทดลอง จนกว่าจะพอใจ เมื่อใดที่ความสงสัยความอยากรู้ของวัยรุ่นมีมากเพียงพอ            

                          วัยรุ่นก็จะพยายามเสาะหา ค้นคว้า ทดลอง เพื่อให้รู้ให้หายสงสัย โดยไม่คำนึงถึง

                          อันตรายที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะร้ายแรงเพียงใด  การติดเหล้าแห้ง ติดกัญชา 

                          ติดบุหรี่ และติดยาบ้า หรือยาขยัน เป็นตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน    

                          สำหรับการติดยาด้วยสาเหตุของความอยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง 

                          โดยการรู้เท่าไม่ถึงการณ์



                      5) การหลบหนีจากความจริง ในชีวิตของวัยรุ่นนั้นย่อมมีทั้งความสุขและความทุกข์

                          ปะปนกันไปเป็นธรรมดา  แต่สำหรับวัยรุ่นบางคนอาจพบว่า ตนเองต้องจมอยู่ในห้วงเหว

                          เป็นเวลายาวนาน   เมื่อไม่สามารถจะแก้ปัญหาอันเป็นความทุกข์นั้นให้หมดสิ้นได้ 

                          ก็จำต้องหาทางออกอย่างอื่นเพื่อลืมปัญหาชีวิตที่บีบคั้นอยู่  แม้จะช่วยได้เพียงชั่วขณะ

                          วัยรุ่นบางคนจึงหาทางออกโดยการนั่งกรรมฐาน แต่ส่วนมากจะหันเข้าหายา

                          อันตรายที่ทำให้ประสาทหลอน   เกิดภาพมายาเป็นโลกใหม่ที่สดใสตามที่ตนเองต้องการ

                          จะเห็นวัยรุ่นมักจะใช้ยาเสพติดประเภทแอล เอส ดี กับ เอส ที พี กันอย่างแพร่หลาย 

                          กัญชาก็เป็นอีกอย่างที่ให้ผลทางก่อภาพหลอน  แต่จะได้ผลในระยะต้นๆ เท่านั้น



                      6) ความประมาทของแพทย์ ยาเสพติดให้โทษหลายชนิด เป็นยาที่แพทย์ใช้สำหรับระงับ

                          ความเจ็บป่วยรุนแรงของคนไข้  แต่ในกรณีที่แพทย์ใช้ยาโดยไม่ระมัดระวัง 

                          เช่น ใช้พร่ำเพรื่อ ใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม  เป็นต้น เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้คนไข้

                          ติดยาเสพติดโดยไม่รู้ตัว



                      7) ผู้เจ็บป่วยใช้ยาเอง ผู้ป่วยบางรายอยู่ในท้องที่ที่ไม่สามารถจะหาแพทย์ได้            

                          เมื่อเกิดเจ็บป่วยขึ้นมีอาการรุนแรง เช่น กระดูกหัก เป็นนิ่วในไต เป็นโรคเนื้องอกบางอย่าง            

                          เป็นต้น จำต้องหายาระงับมาใช้ด้วยตนเอง เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน ยาระงับปวด ระงับประสาทต่างๆ            

                          เท่าที่จะหาได้ และเมื่อต้องใช้บ่อยๆ เข้า ก็จะติดยาเสพติดชนิดนั้นไปในที่สุด



                      8) ใช้เพื่อแสดงความเป็นปฏิปักษ์ต่อสังคม ความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่อสังคม            

                          อาจเกิดขึ้นในวัยรุ่นคนใดก็ได้ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำให้เขามองเห็นภาพของสังคม

                          ในลักษณะที่ไม่เป็นมิตร  เห็นว่าสังคมไม่มีความเป็นธรรม สังคมมีแต่ความโหดร้าย 

                          วัยรุ่นที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่แตกแยก ขาดพ่อหรือแม่ หรือมีพ่อแต่ขาดการเอาใจ

                          ใส่ดูแล ขาดความรัก ขาดความอบอุ่น  พ่อแม่มีความลำเอียงในการเลี้ยงดูลูก

                          เหล่านี้จะทำให้วัยรุ่นรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่มีความยุติธรรมต่อตน สังคมไม่ยุติธรรมต่อตน 

                          คล้ายกับว่าทั้งพ่อแม่และสังคมเป็นคนละส่วนกับตน  และเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน 

                          เมื่อมีความรู้สึกที่เป็นปฏิปักษ์วัยรุ่นก็จะทำทุกอย่างในทางที่ตรงกันข้ามกับ

                          ความต้องการของสังคม  เพื่อเป็นการตอบโต้โดยดื่มสุรา ยาเสพย์ติด ซึ่งเป็นที่รังเกียจของ

                          ผู้เป็นพ่อแม่และสังคมเป็นคนละส่วนกับตน  และเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน เมื่อมีความรู้สึกที่เป็นปฏิปักษ์ 

                          จึงกลายเป็นสิ่งที่วัยรุ่นเลือกเอามาใช้โต้ตอบสังคม  โดยที่หาได้ตระหนักไม่ว่านั่น

                          คือการทำลายตนเอง  จากข้อมูลข้างต้นที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่า

                          สถานการณ์ในปัจจุบันปัญหา  ยาเสพติดมีความทวีรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

                          โดยเฉพาะการเสพยาบ้าในกลุ่มวัยรุ่น ปัญหาดังกล่าวรัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญ

                          และเร่งรัดให้มีการปราบปรามอย่างจริงจัง และดำเนินการตามกฎหมายอย่างเฉียบขาด  

                          รัฐบาลได้ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมกันแก้ไขปัญหาการปราบปราม

                          ยาเสพติดอย่างจริงจังในปัจจุบันถ้าหากวัยรุ่นได้มีการฝึกฝนทักษะที่จำเป็น

                          ต่อการดำรงวิถีชีวิตของตนเองให้มีทักษะที่ถูกต้องแล้วจะทำให้วัยรุ่นสามารถ

                          เผชิญต่อปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ได้ และรู้จักแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ด้วยตนเอง




วันต่อต้านยาเสพติดโลก




ประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหา ยาเสพติด มาเป็นเวลาช้านาน รัฐบาลในแต่ละยุคได้ดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดมาตลอด จนกระทั่งใน พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติภายใต้การนำของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 37 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501 ให้เลิกการสูบฝิ่นทั่วราชอาณาจักรโดยมีการเผาทำลายฝิ่นและอุปกรณ์การสูบฝิ่นที่ท้องสนามหลวงในคืนวันที่ 30 มิถุนายน 2502 หลังจากนั้นปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลได้จัดตั้ง “คณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ” ใช้ชื่อย่อว่า ปปส. สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยมีอธิบดีกรมตำรวจเป็นประธาน และมีผู้แทนจากทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ
ต่อมาในสมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีรัฐบาลได้เล็งเห็นว่า การปราบปรามยาเสพติดไม่สามารถแก้ไขได้โดยการดำเนินการเฉพาะกรมตำรวจฝ่ายเดียว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ต่อสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2519
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทยก็ได้ดำเนินไปอย่างมีแบบแผนและเป็นระบบที่ดีขึ้น พระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดหรือเรียกชื่อย่อว่า ป.ป.ส. โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และจัดตั้งสำนักงาน ป.ป.ส. ขึ้นเป็นหน่วยงานกลางรับผิดชอบโดยตรง มีฐานะเป็นกรม กรมหนึ่งในสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ผลจากปัญหายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติทั่วโลก ประเทศต่างๆ ทั่วโลกจึงได้พยายามร่วมมือกันเพื่อหาทางหยุดยั้งปัญหายาเสพติด ดังนั้นในการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and llicit Trafficking ICDAIT) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่าง วันที่ 17-26 มิถุนายน 2530 ที่ประชุมได้มีมติให้เสนอสมัชชาใหญ่สหประชาชาติขอให้กำหนดวันที่26มิถุนายนของทุกปีเป็นวันต่อต้านยาเสพติดซึ่งที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าวในการประชุมเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2530
ประเทศไทย สำนักงาน ป.ป.ส.ในฐานะหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในประเทศมาโดยตลอด ได้นำมติเรื่องวันต่อต้านยาเสพติดขององค์การสหประชาชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2531 ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531เป็นต้นมา
กิจกรรมที่จัดขึ้นในวันต่อต้านยาเสพติดส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมด้านป้องกัน เช่นการเดินรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด การจัดนิทรรศการการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน การจัดสัมมนาทางวิชาการ เป็นต้น
ในฐานะที่ประเทศไทยถือว่ายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่ง ดังนั้นทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐบาลหรือเอกชนควรจะร่วมมือกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยร่วมกันจัดกิจกรรมตามกำลังความสามารถเพื่อช่วยให้คนรุ่นใหม่ได้ปลอดพ้นจากปัญหายาเสพติดและช่วยให้ผู้ที่ได้ตกเป็นทาสยาเสพติดได้มีโอกาสกลับเข้ามาอยู่ร่วมในสังคมอย่างปกติสุข

โรคภายในกับยาเสพติด

เราต้องการนำพาไปสู่มุมมองที่กว้างขึ้น อินซาอัลเลาะห์ในตอนนี้ไม่ใช่เฉพาะพวกเรา แต่มันเป็นระดับสังคม หรือไม่ก็ระดับประเทศต้องการแก้ไขปัญหายาเสพติด ปัญหาของเราในวันนี้เสมือนกับปัญหาของสังคมและประเทศ คือต้องการบำบัดโรคของสังคม หลายคนได้เล็งเป้าไปที่ยาเสพติดเพราะคนที่เกี่ยวของกับยาเสพติดมันจะทำให้เสื่อมสภาพ ถ้าหากว่าเขาเป็นศาสตราจารย์ก็จะใช้งานไม่ได้เลย เพราะฉนั้นรัฐบาลถึงได้เอาใจใส่แต่ว่ามีหลายโรคอื่น ๆ ที่ผู้นำถือว่าไม่ใช่โรคเพราะคนที่เป็นโรคนั้นถือว่ายังไม่เสื่อมสภาพและสามารถใช้การได้อยู่มันสมองและพละกำลังของเขายังสามารถให้ประโยชน์กับสังคมได้อยู่ จึงทำให้เขานั้นไม่ถูกประทับตราว่าเป็นคนที่มีโรค แต่สำหรับคนที่เข้าใจเกี่ยวกับพระเจ้าคนดังกล่าวถือว่าเป็นคนที่มีโรคเช่นกัน ความหยิ่งยโสที่มีอยู่ในตัวเขาได้สร้างความปั่นป่วนขึ้นในกลุ่มต่าง ๆ นั้นก็ถือว่าไม่มีโรคเพราะคนนั้นยังสามารถใช้การได้ กำลังของเขายังสามารถใช้การได้ยังไม่เสื่อมสภาพทั้ง ๆ พวกเราคนที่ได้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดนั้นแม้ว่าจะหย่อนสมัถภาพ เฉพาะตัวเขาเท่านั้นแต่ว่ามันไม่เกี่ยวข้องกับคนอื่น แต่ว่ากลุ่มที่ถือว่าไม่เป็นโรคนั้นทุก ๆ วันเขาสร้างความปั่นป่วนให้เกิดขึ้นระหว่างผู้นำและผู้ตาม ระหว่างคนงานกับหัวหน้างาน และระหว่างผู้นำญามาอะห์กับผู้ตามญามาอะห์ คนดังกล่าวยังถือว่าไม่เป็นโรคเพราะพวกเขายังใช้การได้ ผมจึงต้องการทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว ซึ่งแท้จริงแล้วมันหนักยิ่งกว่ายาเสพติด เมื่อคนต้องการบำบัดโรคสิ่งที่พวกเขาไม่เข้าใจก็คือ
1.โรคนั้นมาจากไหน เขาเข้าใจว่าสิ่งดังกล่าวนั้นคือโรค”จะทำอย่างไร” ? ยาเสพติดนั้นอันตรายอยู่แล้วคนส่วนมากรู้จัก เฉพาะโรคแต่ไม่รู้ว่าโรคนั้นมาจากไหน ต้นเหตุมันคืออะไร
2.เมื่อมีโรคแล้วจะรักษาได้อย่างไรสองประการนี้แหละที่ยังไม่เรียบร้อย.
มีอีกเรื่องที่มันเร้นลับมาก ๆ มันซ่อนเร้นมาก ๆ ยาเสพติดนั้นเป็นโรคซึ่งเป็นสาเหตุมาจากโรคอื่นซึ่งโรคนั้นสามารถทำให้แพร่ขยายไปสู่โรคอื่นอีก สิ่งดังกล่าวนี้คนไม่เข้าใจ ดังนั้นมันลำบากหากสังคมและประเทศไม่เข้าใจ มาทบทวนอีกครั้ง ยาเสพติดนั้นทุกคนยอมรับว่าเป็นโรค แต่โรคยาเสพติดนั้นเป็นเหตุมาจากโรคอื่น ถ้าหากว่าคนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เดิม ๆ แล้วเขาไม่ต้องการหาโรค แต่ต้องการหายาแก้ไขแต่กลับไปกินยาพิษ สิ่งดังกล่าวนี้แหละที่คนมองไม่เห็น หมายความว่ายาเสพติดนี้เป็นโรคที่สองซึ่งเกิดมาจากโรคที่หนึ่ง เขาพยายามหาแนวทางแก้ไข แต่ไปเจอยาเสพติด จริง ๆ แล้วเขาไม่พบยาแต่ไปพบยาพิษ โรคทำให้เกิดโรค.
นั่นคือเรื่องยาเสพติด ซึ่งมันเกิดจากสาเหตุโรคอื่น เนื่องจากมีโรคที่ซ่อนเร้น ซึ่งคนมองไม่เห็น เนื่องจากว่าที่ตะวันตกพวกเขาเจริญกว่าพวกเรามากและ ชั่วกว่าพวกเรามาก……….พวกเขาไม่คิดเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดอีกแล้ว เพราะสาเหตุว่าพวกเขาไม่เสพยาเสพติดอีกแล้ว หรือไม่ก็ชินชาต่อมันเสียแล้ว ทำให้เกิดโรคอื่นอีก ที่แปลกประหลาด และไม่กินกับสติปัญญา คล้ายๆ กับว่าคอวารีกุลอาดะห์ ในอิสลามคอวารีกุลอาดะห์ เป็นเรื่องที่ดี แต่นี่เรียกว่า “คอวารีกุลเบอเดอบะห์” ที่มาเลเซียหากว่าบุคคลหนึ่งไปฆ่าคนเพราะอิจฉา หมายความว่ามันมีสาเหตุ หากว่าฆ่าคนเพราะต้องการปล้น ต้องการขโมย มันก็มีสาเหตุ ที่ตะวันตกเนื่องจากว่าโรคประหลาดนี้ได้มีคนฆ่าคนเพราะต้องการความ มัน สะใจ เจอคนแล้วฆ่าทิ้งด้วยความสะใจ ที่ตะวันตกการปล้น ลักขโมยเพราะต้องการความสะใจ ได้สิ่งของนั้นมาแล้วทิ้ง หมายความว่า เขาต้องการหายาเพื่อโรคภายในของเขา คือเพื่อตอบสนองในสิ่งที่เขาต้องการ มีบางคนต้องการยาเพื่อรักษาโรคนี้ เขาเจอแมวเชือดแมว เจอหนูเชือดหนู เขารู้สึกสนุก 
เขามีโรคต้องการหายาแต่ไม่เจอ ฉนั้นนั่นคือโรคที่สอง โรคแรกหาไม่เจอ บางคนไปข่มขืนคนอื่นเพราะไม่มีเมีย หรือต้องการตอบสนองอารมณ์ใคร่ ที่ตะวันตกนอกจากปลดปล่อยอารมณ์ใคร่แล้ว เขารู้สึกสะใจเมื่อได้ข่มขืน การข่มขืนเป็นยาสำหรับรักษาจิตใจที่ว่างเปล่า เห็นไหม? โรคที่เกิดขึ้นปัจจุบันนี้เพราะมีโรคอื่นที่ซ่อนเร้น ที่เป็นปัญหาปัจจุบัน ทำอย่างไรที่จะรักษาโรคที่ซ้อนเร้น เผื่อว่าจะไม่ทำให้เกิดโรคที่สอง โรคแรกที่มองไม่เห็นเขาเพียงคนเดียวที่รู้สึกกังวล แต่หากปล่อยปละละเลย จะเกิดโรคที่สอง เมื่อเกิดโรคที่สองสังคมจะกระทบไปด้วย หากคนที่ฉลาดหรือรัฐบาลที่ฉลาด เขาจะคิดหาทางจะกำจัดโรคแรกได้อย่างไร โรคแรกเราเข้าใจเมื่อจิตใจว่างเปล่า สติปัญญาหมุนเวียนไม่อยู่กับที่ จิตใจเริ่มกังวล หากจิตใจว่างเปล่า เป็นเวลา 10-20 ปี ทำให้เกิดโรคจิต เขาต้องการรักษาตัวเขา ฉนั้นเขาจึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกินยาพิษที่ได้กล่าวไปข้างต้นนี้ จึงทำให้เกิดโรคที่สอง
แท้จริงแล้วหากเราฉลาด เราจะคิดทำอย่างไรจะสร้างคนพันธ์ใหม่ที่จิตใจไม่ว้างเปล่า ไม่หงุดหงิด จนกระทั้งทำให้ให้เกิดโรคที่สอง ฉนั้นหากว่าเราต้องการรู้ซึ้งเกี่ยวกับยาเสพติด เราต้องรู้ว่าโรคนั้นเป็นสาเหตุมาจากโรคที่หนึ่ง มาจากลักษณะคนที่ไม่กลัวต่อพระเจ้า หากโรคดังกล่าวนี้สามารถได้รับการบำบัดทำให้การบำบัดโรคที่สองง่ายขึ้น คนเพียงแต่ยุ่งต้องการรักษาโรคที่สองแต่ไม่สามารถมองเห็นโรคที่หนึ่ง โรคที่หนึ่งตอนนี้คืออะไรนั่นแหละที่ไม่มี

ปัญหายาเสพติดในสังคมที่ต้องแก้ไข

ปัญหาสังคมเป็นคำที่ได้มีการกล่าวถึงมายาวนานน้อยคนนักที่จะรู้และเข้าใจความหมายของคำว่าปัญหาสังคมอย่างแท้จริงในที่นี้ได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายแนวทางดังนี้
             “สภาพการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งส่งผลกระทบอันไม่พึงปราถนาต่อคนจำนวนหนึ่งซึ่งมากพอสมควรจนเกิดความรู้สึกกันว่าควรที่จะได้ดำเนินมาตรการบางอย่างด้วยกระทำการร่วมกันโดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง”(Horton & Leslie)
           “ปัญหาสังคมเป็นภาวะการณ์และแบบอย่างพฤติกรรมที่สมาชิกให้สังคมพิจารณาว่าอุปสรรคน่าขัดขวาง ดีกรีแห่งความรีบด่วนที่ต้องดำเนินการแก้ไข ขึ้นอยู่กับการนิยามของชุมชนว่าเป็นเรื่องคุกคามทำอันตรายต่อชุมชนโดยแท้จริง และสามารถดำเนินการแก้ไขได้โดยการวางแผนและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์” ( Weinberg)
             เมื่อกล่าวถึงปัญหาสังคมที่ทวีความรุนแรงและเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการแก้ไข นั้นคือปัญหายาเสพติด ซึ่งถือเป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่ง ซึ่งคนไทยเราได้รู้จักและพูดกันมานานหลายชั่วอายุคนแล้ว จนกระทั่งปัจจุบันมีบัญชีรายชื่อยาเสพติดในโลกนี้ยาวเหยียด จนจำแทบไม่ไหวแล้ว

             หากคิดใคร่ครวญดูให้ชัดๆ จะมองเห็นว่า การต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติด ก็คือการต่อสู้แย่งชิงประชาชนในลักษณะสงครามเย็น ประชาชนส่วนใหญ่เป็นของเราอยู่แล้ว แต่มีข้าศึกเล็ดลอดเข้ามาจับตัวไปเป็นเชลยทีละคนสองคนโดยไม่มีทีท่าว่าจะหยุดที่สำคัญกว่านั้นข้าศึกไม่ปรากฏตัวตน มีแต่ตัวแทนที่หลบซ่อนแฝงตัวอยู่เต็มไปหมดการใช้กำลังเข้าปราบปรามโจมตี ก็จะเข่นฆ่าจำกัดได้เฉพาะเชลยและไส้ศึกบางส่วนเท่านั้นการทำสงครามเพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติด จึงมีลักษณะเป็นการทำศึกที่จะต้องสู้รบติดพัน ยืดเยื้อยาวนาน การบุกเข้าหักล้างด้วยกำลังปราบปราม จึงไม่น่าจะเป็นยุทธวิธีที่จะเอาชนะปัญหาได้

             จากการที่รัฐบาลได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะทำสงครามกับยาเสพติด ด้วยพลังแผ่นดินนั้น นับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีและเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยให้การแก้ปัญหาประสบความสำเร็จได้ ดังคำกล่าวของ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ได้กล่าวในการประชุมระดมความคิดเพื่อกำหนดแนวทางเอาชนะยาเสพติด ที่จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2544 โดยกล่าวว่า

             “ปัญหายาเสพติดมีความรุนแรงมาก จำนวนผู้เสพมีมาก การทำลายของยาเสพติดต่อคุณภาพของคนรุนแรงมาก จะต้องใช้ยุทธศาสตร์พลังแผ่นดิน จึงจะได้ผล กล่าวคือต้องให้คนทั้งชาติมาช่วยกันต้องให้ทุกคนรู้ว่าภัยของชาติในทุกด้านมันมีอยู่จริง ต้องปลุกเร้าให้เกิดความเป็นชาติความรักสามัคคี”

             การใช้ยาเสพติดเป็นพฤติกรรมการใช้ยาในทางที่ผิด เป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่เบี่ยงเบนออกไปจากแนวปกติ จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่างผสมผสานกันที่สำคัญคือ ต้องมียาเสพติด มีกลุ่มผู้ค้าและกลุ่มผู้เสพ ซึ่งก็คือประชากรในทุกกลุ่มที่อยู่ในสังคม รวมทั้งภาวะทางสังคมที่เอื้ออำนวยให้เพลี่ยงพล้ำตกเป็นทาสยาเสพติดชนิดนั้นๆ

             การที่บุคคลจะตัดสินใจเลือกที่จะใช้ยาเสพติดเป็นทางออกหรือไม่นั้น มีองค์ประกอบอยู่หลายอย่างในทีนี้จะขอกล่าวถึงบริบทโดยรวมที่เกี่ยวข้อง ในการเอื้อให้เกิดปัญหายาเสพติด ดังนี้

             1.สภาวะของสังคม สภาพสังคมที่มีความปกติสุข ทุกคนในสังคมสามารถดำเนินชีวิตอย่างปกติธรรมดาได้อย่างมีความสุข ไม่มีแรงผลักดันให้ต้องพึ่งยาเสพติด และมีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าการใช้ยาเสพติดการใช้ยาในทางที่ผิดก็จะไม่เกิดขึ้น

             2. ขนบธรรมเนียมและประเพณี มีส่วนสำคัญในฐานะปัจจัยเกื้อหนุนต่อการใช้ยาเสพติดเช่นครอบครัวที่พ่อแม่มีอาชีพต้มเหล้าขาย หรือเปิดร้านขายเหล้า บุหรี่ หรือครอบครัวที่พ่อแม่ นิยมตั้งวงกินเหล้า เล่นไพ่ สูบบุหรี่ รวมทั้งธรรมเนียมพื้นบ้านของบางท้องถิ่นที่ชักชวนกันเสพสิ่งเสพติดกันอย่างสนุกสนานในเทศการต่างๆ ย่อมเป็นองค์ประกอบที่ชักจูงให้เด็กหันไปเสพสิ่งเสพติดตามอย่างได้
อย่างง่ายดาย

             3. อิทธิพลความฟุ้งเฟ้อ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนในสังคมหันไปเสพสิ่งเสพติด เช่น การเฉลิมฉลองในโอกาสต่างๆ การกระทำตามอย่างของวัยรุ่น ที่คิดว่ายาเสพติดเป็นสิ่งที่ไม่น่ากลัวและจำเป็นต้องใช้เพื่อเพิ่มความสนุกสนานในการเที่ยวเตร่ เป็นต้น ความฟุ้งเฟ้อเหล่านี้เป็นเรื่องของค่านิยมที่เราจะรณรงค์ชักจูงให้เลิกหรือขจัดให้หมดไปได้ยากยิ่ง

             4. ขาดแคลนแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ การที่ประชาชนในสังคมขาดแคลนแหล่งพักผ่อนทั้งกายและใจ ทำให้ไม่มีช่องทางผ่อนคลายความเครียดและความกดดัน ประชาชนบางส่วนจึงหันเข้าหาการพักผ่อนด้วยการดื่มเหล้า

จากที่ได้กล่าวถึงปัญหายาเสพติดในภาพรวมมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าการขับเคลื่อนของสังคมโดยรวมจะสามารถส่งผลให้ปัญหาต่างๆ คลี่คลายในทางที่ดีได้แนวคิดทางสังคมที่เห็นว่าเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาต่อสถานการณ์ปัญหายาเสพติด ก็คือ ฉันทามติ (Consensus Theory)กล่าวคือ

             “ความคิดเห็นที่รวมกันจำนวนหนึ่งของกลุ่มที่ผสมผสานกัน หรือของสาธารณะอย่างหนึ่ง ซึ่งรวมเอาความคิดเห็นของมวลสมาชิก แล้วผนึกเข้าไว้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่จำเป็นจะต้องเป็นความคิดที่ลงรอยกันเป็นเอกฉันฑ์ แต่เป็นความคิดที่มวลสมาชิกถือเป็นฐานในการปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างน้อยก็คราวหนึ่ง”

             ทุกคนในสังคมยอมรับว่ายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่สุด ที่บ่อนทำลายประเทศชาติและประชากรในชาติ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ที่ถือว่าเป็นกำลังสำคัญในอนาคต ยาเสพติดก็แพร่ระบาดเข้าไปอย่างรวดเร็ว ทุกส่วนในสังคมพยายามเข้าไปช่วยเหลือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ดูเหมือนว่ายิ่งแก้ไข ปัญหาก็ยิ่งมากขึ้นและทวีความรุนแรงซับซ้อนขึ้นทุกทีจากแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า การดำเนินงานเป็นไปในลักษณะแยกส่วน ต่างคนต่างแก้ ความซ้ำซ้อนและความไม่มีเอกภาพในการแก้ไขปัญหาจึงเกิดขึ้น

             การสร้างฉันทามติจะเป็นเครื่องมือในการให้คนในสังคมเห็นพ้องต้องกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการต่อสู้กับปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องมีการพึ่งพาอาศัยกัน (Interdependent) มีการประสานงานกันทำงานอย่างผสมผสาน และความสอดคล้องในเรื่องความเห็น ความรู้สึก ที่เห็นว่ายาเสพติดเป็นภัยคุกคามต่อสังคมโดยรวม

กระแสโลกาภิวัฒน์และวัฒนธรรมตะวันตก ได้แทรกซึมอยู่ในสังคมไทยในทุกพื้นที่ ซึ่งมีส่วนผลักดันให้การแก้ไขปัญหาแบบฉันทามติไม่บังเกิดผลเท่าที่ควร จะเห็นได้จากสมาชิกในสังคมนิ่งเฉยต่อปัญหาการมุ่งทำงานตามกระแสทุนนิยมจนขาดความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แม้กระทั่งสมาชิกของครอบครัวตนเองรวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐและนักการเมืองบางส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพติดอีกด้วย การสร้างฉันทามติ อาจจะไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด การจัดระเบียบสังคม (Social Control) จะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยทำให้สังคม มีระเบียบ มีความสงบมั่นคงถาวร และสมาชิกของสังคมสามารถดำเนินชีวิตของตนไปได้

             “การจัดระเบียบสังคมเป็นกระบวนการที่มีขอบเขตกว้างขวางมาก เป็นกระบวนการที่ครอบคลุมปรากฏการณ์สังคมหลายอย่าง เริ่มจากการจัดให้มีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับต่างๆ หลายอย่าง เพื่อให้สมาชิกในสังคมยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติกัน กฎเกณฑ์เหล่านี้คือ บรรทัดฐานทางสังคม (Social Norm)ที่เป็นแบบแผนพฤติกรรมที่เป็นที่คาดหวังของสังคม เป็นมาตรบานที่สมาชิกของสังคมถูกคาดหวังให้ปฏิบัติตามจึงเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป”

             กฏเกณฑ์ที่เรียกว่าบรรทัดฐานทางสังคมนั้นมีอยู่หลายประการ โดยทั่วไปนักสังคมวิทยาจะแบ่งบรรทัดฐานทางสังคมออกเป็น 3 ประเภท คือ วิถีชาวบ้าน (Folk ways) จารีต (Mores) และ กฎหมาย (Laws) ในการแก้ปัญหายาเสพติดที่ผ่านมาเห็นว่ากฎหมายได้เพิ่มความรุนแรงและเข้มงวดมากขึ้นในการลงโทษผู้ค้าและผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่ผลที่ได้รับก็คือปัญหายังทวีความรุนแรงมากขึ้น และไม่มีทีท่าว่าจะลดลง จึงพอจะสรุปได้ว่าการลงโทษไม่ใช่แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างถูกต้องเท่าใดนัก

             เมื่อมองย้อนไปสิบกว่าปีมาแล้ว ปัญหายาเสพติด ยังไม่แพร่ระบาดรุนแรงมากทั้งยังสามารถควบคุมและจำกัดวงของการแพร่ระบาดได้ ซึ่งต่างจากปัจจุบัน ที่ปัญหาได้ทวีความซับซ้อนและรุนแรงเพิ่มขึ้น ทุกส่วนของสังคมยอมรับว่ายาเสพติดเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไข โดยภาครัฐได้กำหนดยุทธศาสตร์ การใช้พลังแผ่นดินเพื่อเอาชนะยาเสพติดตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 119/2544 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 เพื่อให้คนไทยทั้งชาติร่วมมือร่วมใจแก้ไขปัญหายาเสพติด

             หากมองถึงความซับซ้อนยาเสพติดที่ฝังรากลงลึกในสังคมไทยจะพบว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นปัจจัยของความคงอยู่ของปัญหาเช่นกัน จะเห็นได้จากกระแสทุนนิยมจากตะวันตกได้ครอบงำและเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและวิธีคิดของคนในสังคมไทย ทำให้วิถีชาวบ้าน จารีตประเพณี และวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยอันเป็นเกราะป้องกันยาเสพติดและปัญหาสังคมอื่นๆ ถอยห่างจากครอบครัว ชุมชน และสังคมไทยไปทุกที ช่องว่างเหล่านี้จะเป็นที่อยู่ของปัญหาต่างๆในสังคม ไม่เว้นแม้กระทั่งยาเสพติด การแพร่ระบาดของปัญหาที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นตัวแปรที่สอดรับกับช่องว่างที่เกิดขึ้นเหล่านี้  วิถีชาวบ้าน จารีต และวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคม จึงควรที่จะได้รับการเอาใจใส่ และฟื้นฟู ให้เข้มแข็งดังเช่นอดีตที่ผ่านมา ในอันที่จะให้ครอบครัว ชุมชนเกิดความเข้มแข็งซึ่งจะส่งผลไปยังสังคมโดยรวม ให้เกิดความเข้มแข็ง และเกิดเป็น ฉันทามติ เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดไปจากสังคมไทยได้ในที่สุด

สรุป

             การป้องกันปัญหายาเสพติด ควรจะเน้นการป้องกัน โดยการสร้างสภาพแวดล้อมของสังคมที่ไม่ผลักดันและส่งเสริมให้คนต้องหันไปพึ่งยาเสพติด จะต้องมีกลไกเพื่อพัฒนาลักษณะนิสัย และบุคลิกภาพให้คนพึ่งตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งยาเสพติด เป็นเครื่องค้ำจุนชีวิต จึงจะต้องอาศัยกลไกทางวิถีชาวบ้าน จารีตและวัฒนธรรมในการขับเคลื่อน ไปสู่ฉันทามติที่ทรงพลัง ในการแก้ไขปัญหาและในขณะเดี่ยวกันก็ต้องดำเนินการให้ผู้ใช้ยาเสพติดได้รับการบำบัดรักษาให้หายและฟื้นฟูจิตใจให้หลุดพ้นจากการเป็นทาสยาเสพติดตลอดไป

สิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับยาเสพติด

ยาเสพติดสารเคมีที่เปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคนงาน เธอคงเคยได้ยินว่ายาเสพติดที่ไม่ดีสำหรับคุณ แต่มันความหมายว่าและทำไมพวกเขาไม่ดี

มียาเสพติดยาทางกฎหมาย

ถ้าคุณได้เคยป่วยและได้ใช้ยา, คุณรู้เกี่ยวกับยาเสพติดประเภทหนึ่ง มียาเสพติดยาทางกฎหมายแพทย์ความหมายได้รับอนุญาตให้กำหนดไว้สำหรับผู้ป่วยที่ร้านค้าสามารถขายพวกเขาและคนที่ได้รับอนุญาตให้ซื้อพวกเขา แต่ไม่ใช่ทางกฎหมายหรือความปลอดภัยเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ยาเหล่านี้วิธีที่พวกเขาต้องการหรือเพื่อซื้อพวกเขาจากคนที่มีการลักลอบขาย

บุหรี่และสุรา

บุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสองประเภทอื่น ๆ ของยาเสพติดทางกฎหมาย (ในประเทศสหรัฐอเมริกา 18 ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุสามารถซื้อบุหรี่และผู้ที่มีอายุมากกว่า 21 และสามารถซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์.) แต่การสูบบุหรี่และดื่มมากเกินไปจะไม่ดีต่อสุขภาพของผู้ใหญ่และจะปิดวงเงินสำหรับเด็ก

ยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย

เมื่อคนพูดถึง"ปัญหายาเสพติด"พวกเขามักจะหมายถึงทำผิดกฎหมายหรือการใช้ยาเสพติดยาเสพติดที่ผิดกฎหมายเช่นกัญชา, ดีใจ, โคเคน, LSD, meth คริสตัลและเฮโรอีน (กัญชาเป็นยาเสพติดที่ผิดกฎหมายโดยทั่วไป แต่บางรัฐอนุญาตให้แพทย์กำหนดให้ผู้ใหญ่สำหรับโรคบาง.)

ทำไมยาเสพติดที่ผิดกฎหมายมีอันตรายหรือไม่?

ยาเสพติดที่ผิดกฎหมายไม่ดีสำหรับทุกคน แต่พวกเขาไม่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กหรือวัยรุ่นที่มีร่างกายยังคงเติบโต ยาเสพติดที่ผิดกฎหมายสามารถสร้างความเสียหายสมอง, หัวใจและอวัยวะที่สำคัญอื่น ๆ โคเคนตัวอย่างเช่นอาจทำให้เกิดหัวใจวาย — แม้ในเด็กหรือวัยรุ่น
ในขณะที่ใช้ยาเสพติดนอกจากนี้ยังมีน้อยคนสามารถที่จะทำดีในโรงเรียนกีฬาและกิจกรรมอื่น ๆ มันมักจะยากที่จะคิดอย่างชัดเจนและทำให้การตัดสินใจที่ดี ผู้คนสามารถทำสิ่งโง่หรืออันตรายที่อาจทำร้ายพวกเขา — หรือคนอื่น ๆ — เมื่อพวกเขาใช้ยาเสพติด

ทำไมคนใช้ยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย?

บางครั้งเด็กและวัยรุ่นลองยาเสพติดให้พอดีกับกับกลุ่มเพื่อน หรือพวกเขาอาจจะอยากรู้อยากเห็นหรือเบื่อเพียง บางคนอาจใช้ยาเสพติดที่ผิดกฎหมายด้วยเหตุผลหลาย ๆ แต่บ่อยครั้งเนื่องจากจะช่วยให้คนหนีจากความเป็นจริงในขณะที่ ยาอาจ — ชั่วคราว — ให้คนที่มีความเศร้าหรืออารมณ์เสียความรู้สึกที่ดีกว่าหรือลืมเกี่ยวกับปัญหา แต่หลบหนีนี้มีจำนวน จำกัด เพียงจนยาสวมปิด
ยาเสพติดไม่สามารถแก้ไขปัญหาของหลักสูตร และการใช้ยาเสพติดมักจะทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ อยู่ด้านบนของปัญหาคนมีในครั้งแรก ใครบางคนที่ใช้ยาเสพติดจะกลายเป็นขึ้นอยู่กับพวกเขาหรือติด ซึ่งหมายความว่าร่างกายของเราจะกลายเป็นคุ้นเคยเพื่อให้มียาเสพติดที่เขาหรือเธอไม่สามารถทำงานได้ดีโดยไม่ได้นี้
เมื่อใครบางคนกำลังติดก็ยากมากที่จะหยุดใช้ยาเสพติด การหยุดอาจทำให้เกิดอาการถอนเช่นอาเจียน (โยนขึ้นไป), เหงื่อออกและ tremors (สั่น) ความรู้สึกเหล่านี้ป่วยอย่างต่อเนื่องจนร่างกายของเราได้รับการปรับให้เป็นยาเสพติดฟรีอีก

ผมสามารถบอกได้ว่ามีใครใช้ยาเสพติด?

ถ้ามีคนใช้ยาเสพติดที่คุณอาจสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีที่คนดูหรือการกระทำ นี่คือบางส่วนของสัญญาณเหล่านั้น แต่สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้ว่าภาวะซึมเศร้าหรือปัญหาอื่นอาจเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ใช้สารเสพติดบางคนอาจ :
  • หมดความสนใจในโรงเรียน
  • เพื่อน ๆ เปลี่ยน (ออกไปเที่ยวกับเด็ก ๆ ที่ใช้ยาเสพติด)
  • กลายเป็นอารมณ์ไม่ดี, ลบ, บ้าๆบอ ๆ หรือเป็นห่วงตลอดเวลา
  • ขอให้เหลือคนเดียวมาก
  • มีปัญหาในการมุ่งเน้น
  • นอนหลับจำนวนมาก (แม้กระทั่งในชั้นเรียน)
  • ได้รับในการต่อสู้
  • มีตาสีแดงหรือเป่า
  • สูญเสียหรือเพิ่มน้ำหนัก
  • ไอมาก
  • มีอาการน้ำมูกไหลตลอดเวลา

สิ่งที่ฉันสามารถทำได้เพื่อช่วย?

ถ้าคุณคิดว่ามีคนใช้ยาเสพติดสิ่งที่ดีที่สุดที่จะทำคือการบอกผู้ใหญ่ที่คุณไว้ใจ ซึ่งอาจเป็นผู้ปกครอง, ญาติอื่น ๆ , ครู, โค้ชหรือที่ปรึกษาของโรงเรียน คนอาจต้องการความช่วยเหลือระดับมืออาชีพที่จะหยุดการใช้ยาเสพติด grownup สามารถช่วยคนพบการรักษาที่จำเป็นในการหยุดใช้ยาเสพติด เด็กอีกวิธีที่สามารถช่วยให้เด็กเกิดจากการเลือกที่จะไม่พยายามหรือใช้ยาเสพติด นี่เป็นวิธีที่ดีสำหรับเพื่อน ๆ ที่จะติดกัน

คำที่ควรทราบ

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดและทำไมพวกเขาจะมีอันตรายเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่ดีสำหรับเด็กที่จะใช้ ต่อไปนี้คำบางคำที่อาจจะใหม่สำหรับคุณคือ
ติดยาเสพติด — มีบางคนติดเมื่อเขาหรือเธอจะกลายเป็นขึ้นอยู่กับหรือ craves ยาตลอดเวลา
depressant — depressant เป็นยาที่ลงช้าบุคคล แพทย์กำหนด depressants เพื่อช่วยให้ผู้น้อยโกรธ, วิตกหรือเครียด Depressants ผ่อนคลายกล้ามเนื้อและให้ผู้ใช้รู้สึกง่วงนอนน้อยเครียดหรือชอบหัวของพวกเขาเป็นตุ๊กตา บางคนอาจใช้ยาเหล่านี้อย่างผิดกฎหมายเพื่อตัวเองช้าลงและช่วยนำในการนอนหลับ — โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการใช้สารกระตุ้นทุกชนิด (ดูด้านล่าง.)
สารหลอนประสาท — สารหลอนประสาทเป็นยาเสพติดเช่น LSD ว่าการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ของบุคคลและทำให้เขาหรือสิ่งที่มองเห็นหรือได้ยินเสียงของเธอที่ไม่ได้จริงๆหรือคิดว่ามีความคิดแปลก
สูง — สูงเป็นยาเสพติดยาเสพติดความรู้สึกที่ผู้ใช้ต้องการที่จะได้รับเมื่อพวกเขาใช้เวลา หลายประเภทที่สูงรวมทั้งความรู้สึกมีความสุขมากหรือ Spacey หรือรู้สึกว่าใครบางคนได้อำนาจพิเศษเช่นความสามารถในการบินหรือเพื่อดูในอนาคตเป็น
Inhalant — inhalant เช่นกาวหรือน้ำมันเป็นดมหรือ"huffed"เพื่อให้ผู้ใช้เร่งด่วนทันที Inhalants ผลิตความรู้สึกอย่างรวดเร็วของการเป็นเมา — ตามด้วยความง่วงนอน, วิงเวียน, ส่าย, และความสับสน
ยาเสพติด — ยาเสพติด dulls ความรู้สึกของร่างกาย (ออกจากคนรู้น้อยลงและการแจ้งเตือนและความรู้สึกเหมือนเดิม) ช่วยระงับความเจ็บปวดและ ยาเสพติดอาจทำให้เกิดใครบางคนนอนหลับตกอยู่ในอาการมึนงง, มีอาการชักและแม้กระทั่งใบลงในอาการโคม่า ยาเสพติดบางอย่าง — เช่นโคเดอีน — ถูกกฎหมายถ้าให้โดยแพทย์ในการรักษาอาการปวด เฮโรอีนเป็นยาเสพติดที่ผิดกฎหมายเพราะมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายและสามารถเสพติดมาก
กระตุ้น — กระตุ้นเพิ่มความเร็วในร่างกายและสมอง กระตุ้นเช่นยาบ้าและโคเคนมีผลตรงข้ามของ depressants โดยปกติแล้วกระตุ้นทำให้บางคนรู้สึกและมีพลังงานสูง เมื่อผลของการกระตุ้นสวมปิดคนจะรู้สึกเหนื่อยหรือไม่สบาย