วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เส้นทางสู่การเลิกยา

สมองมีโอกาสฟื้นตัวได้เมื่อหยุดเสพยาเสพติด หากสมองยังไม่ถูกทำลายอย่างถาวร การหยุดเสพยาเสพติด จะทำให้เกิดอาการขาดยาและอาการอยากยา เป็นเหตุให้ผู้ติดยาต้องหวนกลับไปเสพยาอีก ในการเลิกยานั้น จำเป็นที่ผู้ใกล้ชิดต้องให้ความช่วยเหลือและนำผู้ติดยาเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา เพื่อให้ผู้ติดยาสามารถเลิกยาได้อย่างถาวร และเป็นเรื่องสำคัญที่บุคคลที่เลิกเสพยาจะต้องเข้าใจว่า ทำไมในช่วงการเลิกยาเสพติดจึงมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม เกิดขึ้นกับตนเอง

ระยะต่างๆที่ผู้ป่วยจะต้องผ่านในเส้นทางการเลิกยา

1. ระยะที่เกิดอาการขาดยา ในระยะขาดยา (1-10 วันแรก) ผู้เลิกยาจะมีอาการไม่สบาย เช่น อาการซึมเศร้า ไม่มีแรง หงุดหงิด มีปัญหาด้านความคิด ความจำ เป็นต้น และมีอาการอยากยาเกิดขึ้น ซึ่งจะมีความรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของยาเสพติด ประมาณยาที่เสพ ความถี่ของการเสพย และระยะเวลาของการเสพ
อาการขาดยาที่รุนแรงของผู้เลิกยาเป็นปัยหาทางจิตเวช สมองไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติ อาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ เช่น การฆ่าตัวตาย เป็นต้น
วิธีการดูแลตัวเองในระยะที่มีอาการขาดยา ได้แก่
1. ขจัดตัวกระตุ้น
2. จัดตารางกิจวัตรประจำวัน
3. พยายามหยุดเสพยาทีละวัน
4. ลดความวิตกกังวล
5. มองหาสิ่งที่ทำให้เลิกยาต่อไปได้
6. ต่อต้านการดำเนินชีวิตที่ติดยา
2. ระยะฮันนีมูน อยู่ในช่วงสัปดาห์ที่ 4-5 ของการเลิกยา (หลังจาก 1 เดือนเป็นต้นไป) ระยะนี้ผู้เลิกยาจะรู้สึกดีขึ้น ความอยากยาลดลง มีความมั่นใจ รู้สึกว่าสามารถดูแลตนเองในการเลิกยาได้ และคิดว่าปัญหาติดยาหมดไปแล้ว แต่ขณะเดียวกันอาจทำให้ผู้เลิกยาต้องการทดสอบตนเองด้วยการกลับไปเผชิญกับตัวกระตุ้นอีก เช่น เพื่อนที่ใช้ยา สถานที่ค้ายา อุปกรณ์ในการเสพยา เป็นต้น แล้วในที่สุดก็หวนกลับไปเสพยาเสพติดอีก
วิธีการดูแลตนเองในระยะฮันนีมูน คือการหยุดความคิดเสพยา โดยหยุดความคิดทันทีที่เริ่มเกิดขึ้น
3. ระยะเลิกยาที่ยืดเยื้อหรือระยะฝ่าอุปสรรค จาก 6 สัปดาห์ถึง 4 เดือน ระยะนี้เป็นช่วงสำคัญของเส้นทางการเลิกยา ผู้เลิกยาจะรู้สึกขาดกำลังวังชาที่จะต่อสู้กับปัญหาอุปกรรคต่างๆ มีอารมณ์เฉยเมย หรือซึมเศร้าเกิดขึ้น บางครั้งอาจมีอาการอยากยาเกิดขึ้นอีก ทำให้ผู้ป่วยพยายามหาเหตุผล เพื่อกลับไปเสพยาเสพติดอีก ภาวะเสี่ยงต่อการกลับไปเสพยาเสพติดจึงมักจะเกิดขึ้นในระยะนี้ ดังนั้นญาติหรือผู้ใกล้ชิดต้องทำความเข้าใจกับผู้เลิกยา และพยายามให้กำลังใจ ให้ผู้เลิกยาผ่านช่วงระยะนี้ได้ด้วยดี
วิธีการดูแลตนเองในระยะเลิกยาที่ยืดเยื้อ ผู้ป่วยควรพิจารณาเหตุผลที่ตนเองนำมาอ้างเพื่อจะได้กลับไปใช้ยา แล้วจึงปฏิเสธเหตุผลนั้น หรือหยุดความคิดทันที
4. ระยะปรับตัวหรือระยะคลี่คลาย ในช่วงหลัง 20 สัปดาห์ สมองส่วนใหญ่กลับคืนสู่ภาวะปกติ ผู้เลิกยาจะเริ่มปรับตัวในการดำเนินชีวิตและสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นใหม่ สิ่งที่ผู้เลิกยาจะต้องกระทำคือ การพัฒนาจนเองในด้านต่างๆ การทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ ที่ยากลำบากเป็นสิ่งจำเป็นในการที่ช่วยให้บุคคลสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
วิธีการดูแลตนเองในระยะปรับตัว ได้แก่
1. พยายามใช้ทักษะการควบคุมตนเองในเวลาที่มีความคิดหวนกลับเสพยาอีก
2. หากเกิดปัญหาไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองก็ควรปรึกษาผุ้ที่ช่วยเหลือได้ เช่น ผู้บำบัดที่เคยดูแลเรา พ่อ แม่ เป็นต้น
3. เข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลือกันเอง ซึ่งเป็นกลุ่มของผู้ที่เคยติดยาเสพติดมาก่อน และในปัจจุบันสามารถเลิกเสพยาได้อย่างถาวรแล้ว

หลักสำคัญในการเลิกยา

1. การหลีกเลี่ยง หรือจัดการกับตัวกระตุ้น โดยผู้เลิกยาต้องพิจารณาให้รู้ว่า อะไรคือ ตัวกระตุ้นที่มีอิทธิพลต่อตนเอง ทั้งตัวกระตุ้นภายนอก และตัวกระตุ้นภายใน ตัวกระตุ้นแต่ละตัวมีอิทธิพลแตกต่างกันมากน้อยอย่างไร แล้วจึงหลีกเลี่ยงไม่เผชิญตัวกระตุ้นนั้นๆ หรือหาวิธีกำจัดตัวกระตุ้นนั้น ซึ่งต้องอาศัยความมุ่งมั่น ความฉลาดที่หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้น รวมทั้งอาศัยการร่วมมือ และความช่วยเหลือจากครอบครัว เช่น เงินคือตัวกระตุ้น ก็ต้องมีการควบคุมการใช้จ่ายเงินโดยจำกัดการใช้เงินในแต่ละวัน หรือครอบครัวควรเก็บเงินไว้ ไม่ให้ผู้ป่วยหยิบได้โดยง่าย
ในกระณ๊ตัวกระตุ้นภายในที่ไม่สามารถจัดการได้โดยตรง อาจจัดการโดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อารมณ์ ความรุ้สึก เช่น ถ้าตัวกระตุ้นคืออารมณ์เหงา ก็ต้องแก้ไขโดยหลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียว เป็นต้น
ตัวกระตุ้นบางอย่างเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น การอยากยาช่วงเวลาเย็น ก็ต้องจัดการโดยใช้เทคนิคการหยุดความคิด ได้แก่ การจินตนาการ การเปลี่ยนกิจกรรมที่กำลังทำอยู่เพื่อลบความคิดอยากยา การฝึกผ่อนคลาย การทำสมาธิ การโทรศัพท์ปรึกษาใครบางคน เป็นต้น
2. การดำเนินชีวิตที่พอดี ได้แก่ การจัดตารางชีวิตให้สมดุลย์ โดยมีกิจกรรมการทำงาน การนอน การใช้เวลาว่าง การสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น และกิจกรรมในการดำรงชีวิตด้วยการจัดตารางเวลาไม่ให้ว่าง มีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ และทำให้เกิดความเพลิดเพลิน เช่น การออกกำลังกาย การทำงานอดิเรก การทำงานบ้าน จะทำให้ไม่มีเวลาว่างไปคิดถึงยาเสพติด และมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจให้ห่างไกลจากความคิดถึงยาเสพติดได้
3. ระวังการกลับไปเสพซ้ำ ให้ระวังความคิดของตนเองซึ่งเป็นข้ออ้างในการกลับไปเสพซ้ำ เช่น "ฉันเข้มแข็งพอที่จะกลับไปเผชิยหน้ากับยาเสพติดได้อีก" หรือ "เมื่อคนอื่นยังไม่ไว้ใจฉัน ฉันจะทำดีไปทำไม" เป็นต้น และควรให้กำลังใจตนเอง โดยคิดว่าการเลิกยาไม่ใช่เรื่องยาก โดยพยายามหยุดยาให้ได้ในแต่ละวันอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเริ่มต้นมีความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อนใหม่ที่ไม่ใช้ยาเสพติด การสร้างสัมพันธภาพกับครอบครัวก็จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในการเลิกยาได้ในที่สุด

บทบาทของครอบครัวในการเลิกยา

1. ยอมรับว่าการติดยาเป็นโรคที่ต้องรักษา
2. สนับสนุนให้ผู้เลิกยาหยุดการเสพยาและสุรา
3. เรียนรู้เกี่ยวกับตัวกระตุ้น วงจรการเสพยาและยอมรับข้อจำกัดของการอยู่ร่วมกับผู้ติดยา
4. ปรับปรุงสัมพันธภาพกับผู้ป่วย โดยการเรียนรู้การฝึกทักษะการสื่อสารอย่างมีเหตุผล และเรียนรู้ถึงสภาวะทางอารมณ์และการจัดการกับอารมณ์ของตนเอง
5. สนับสนุนผู้เลิกยาให้พัฒนาตนเอง สุขภาพ การดำเนินชีวิตอย่างสมดุล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น