วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของยาเสพติด

ในประเทศไทย
          ยาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาของชาติอยู่ในขณะนี้   มีประวัติความเป็นมาอย่างไรเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะมนุษย์ได้เกี่ยวข้องกับ
ยาเสพติดมาเป็นเวลาช้านาน  บางชนิดก็ให้ทั้งคุณประโยชน์และโทษ  บางชนิดก็มีแต่โทษภัยเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันมียาเสพติดชนิด
ต่าง ๆ ในท้องตลาดมากกว่า 120 ชนิด อย่างไรก็ตามยาเสพติดชนิดแรกที่คนไทยรู้จักก็คือ
 
          ฝิ่น
          ฝิ่นเข้ามาในประเทศไทยในสมัยใดนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด  เท่าที่มีหลักฐานครั้งแรก  เป็นประกาศใช้กฎหมายลักษณะโจร ในสมัยรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)  ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา  เมื่อ พ.ศ. 1903 หรือ ประมาณ 600 ปี
ล่วงมาแล้ว ตามกฎหมายฉบับนี้   ได้บัญญัติการห้ามซื้อ  ขาย  เสพฝิ่นไว้ว่า  "ผู้สูบฝิ่น กินฝิ่น ขายฝิ่นนั้น  ให้ลงพระราชอาญาจง หนักหนา ริบราชบาทว์ให้สิ้นเชิง  ทเวนบกสามวัน  ทเวนเรือสามวัน  ให้จำใส่คุกไว้จนกว่าจะอดได้ ถ้าอดได้แล้วเรียกเอาทานบนแก่มันญาติพี่น้องไว้แล้ว  จึงให้ปล่อยผู้สูบ  ขาย  กินฝิ่น  ออกจากโทษ"   แม้ว่าบทลงโทษจะสูง  แต่การลักลอกซื้อขายและเสพฝิ่น ก็ยังมีต่อมาโดยตลอด   กฎหมายคงใช้ได้แต่ในกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น   ส่วนหัวเมือง และ เมืองขึ้นที่ห่างพระเนตรพระกรรณ ไม่มีการเข้มงวดกวดขัน   ซึ่งปรากฎว่า ผู้ครองเมืองบางแห่งก็ติดฝิ่น  และ  ผูกขาดการจำหน่ายฝิ่นเสียเองด้วย   เมื่อเป็นเช่นนี้ปัญหาการขายฝิ่น เสพฝิ่น จึงเลิกไม่ได้ตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา
       ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงแจกกฎหมายป่าวร้องห้ามปรามผู้ขาย  ผู้สูบฝิ่นแต่ก็ยังไม่มีผล   ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย   จึงได้ทรงตราพระราชกำหนดโทษให้สูงขึ้นไปอีก   โดย
        "ห้ามอย่าให้ผู้ใดสูบฝิ่น   กินฝิ่น   ซื้อฝิ่นขายฝิ่น  และ เป็นผู้สมซื้อสมขายเป็นอันขาดทีเดียวถ้ามิฟังจับได้ และมีผู้ร้องฟ้องพิจารณาเป็น สัจจะให้ลงพระอาญา  เฆี่ยน 3 ยก  ทเวนบก 3 วัน  ทเวนเรือ 3 วัน  ริบราชบาทว์ บุตรภรรยา  และ ทรัพย์สิ่งของ
ให้สิ้นเชิง ให้ส่งตัว ไปตะพุ่นหญ้าช้าง ผู้รู้เห็นเป็นใจมิได้เอาความมาว่ากล่าว จะให้ลง พระอาญาเฆี่ยน 60 ที"
 
         ในรัชกาลที่ 3 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นระยะที่ตรงกับสมัยที่อังกฤษนำฝิ่นจากอินเดีย ไปบังคับขาย ให้จีนทำให้มีคนจีนติดฝิ่นเพิ่มขึ้น  และ ในช่วงเวลานั้น   ตรงกับระยะที่คนจีนเข้ามาค้าขายในเมืองไทยมากขึ้น   จึงเป็นการนำ
การใช้ฝิ่นและผู้ติดฝิ่นเข้ามาในเมืองไทย  ตลอดจนมีการลักลอบนำฝิ่นเข้ามาในเมืองไทยด้วยเรือสินค้าต่าง ๆ  มาก จึงเป็นเหตุให้การเสพฝิ่นระบาดยิ่งขึ้น พระองค์จึงได้ทรงมีบัญชาให้มีการปราบปรามอย่างเข้มงวดกวดขันในปี พ.ศ. 2382  ทำให้การค้าฝิ่น
และสิ่งอื่น ๆ ที่ผิดกฎหมายเข้าไปอยู่ในมือของกลุ่มอั้งยี่ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ  และหัวเมืองชายทะเล  สร้างความวุ่นวายจากการทะเลาะวิวาทระหว่างกลุ่มอั้งยี่ต่าง ๆ จนต้องทำให้ทหารปราบปราม

          ในสมัยรัชกาลที่ 4  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงเห็นว่าการปราบปรามไม่สามารถขจัดปัญหาการสูบ และขายฝิ่นได้ และก่อให้เกิดความยุ่งยากวุ่นวายขึ้น  จึงทรงเปลี่ยนนโยบายใหม่ ยอมให้คนจีนเสพและขายฝิ่นได้ตามกฎหมาย แต่ต้อง
เสียภาษีผูกขาดมีนายภาษีเป็นผู้ดำเนินการ ปรากฏว่าภาษีฝิ่นทำรายได้ให้แก่ประเทศไทยมาก ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงรวบรวมไว้ในหนังสือลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ใน "ตำนานภาษีฝิ่น"  ว่าภาษีที่ได้นั้นประมาณว่าถึงปีละ 4 แสนบาท  สูงเป็น
อันดับที่ 5 ของรายได้ประเภทต่าง ๆ และได้มีความพยายามห้ามคนไทยไม่ให้เสพฝิ่น แต่ก็ไม่ได้ผลเต็มที่
 
          ใน พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติซึ่งปกครองประเทศไทยอยู่ในขณะนั้นได้พิจารณาเห็นว่า การเสพฝิ่นเป็นที่รังเกียจใน วงการสังคม และเป็นอันตรายแก่สุขภาพและอนามัยอย่างร้ายแรง ประเทศต่าง ๆ ได้พยายามเลิกการเสพฝิ่นโดยเด็ดขาดแล้ว จึงเห็นเป็น
การสมควรให้เลิกการเสพฝิ่น  และ  จำหน่ายฝิ่นในประเทศไทย  จึงมีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 37  ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501
ให้เลิกการเสพฝิ่น  และ  จำหน่ายทั่วราชอาณาจักร  และ กำหนดดำเนินการให้เสร็จสิ้นเด็ดขาดภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2502
โดยกำหนดการตามลำดับดังนี้
          1. ประกาศให้ผู้เสพฝิ่นขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เสพฝิ่นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2501
          2. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2502 ห้ามมิให้ร้านฝิ่นจำหน่ายฝิ่นแก่ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตให้สูบฝิ่น
          3. ยุบเลิกร้านจำหน่ายฝิ่นภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2502
          4. ให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย ร่วมกันจัดตั้งสถานพยาบาล และพักฟื้นผู้อดฝิ่น
          5. ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2502 ผู้กระทำผิดฐานเสพฝิ่นหรือมูลฝิ่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น