วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เส้นทางการติดยา

เส้นทางการติดยาตั้งแต่เริ่มเสพจนกระทั่งติด สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ได้แก่
1. ระยะเริ่มต้นเสพยา เป็นช่วงทดสองเสพยา หรือกินนานๆครั้ง เพื่อเข้าสังคมหรือกลุ่มเพื่อน โดยผู้เสพมักจะมีความรู้สึกผิดว่า ตนเองทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
2. ระยะเสพยาต่อเนื่อง เป็นระยะที่ผู้เสพยารู้สึกว่ายาเสพติดมีประโยชน์ ช่วยลดความเครียด ความเหงา ทำให้เสพบ่อยขึ้น โดยมีข้ออ้างต่างๆนานา เริ่มเสียการเรียน และความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด และ/หรือ มีอาการขาดยาให้เห็น เมื่อหยุดเสพระยะหนึ่ง
3. ระยะหมกมุ่น ผู้เสพต้องเสพยาในปริมาณมากขึ้น และบ่อยขึ้น เพราะเกิดอาการดื้อยา จะเสียการเรียนหรือการงาน และมีเรื่องทะเลาะวิวาทกับผู้อื่นเป็นประจำ ความสามารถของสมองในด้านความคิดและความจำแย่ลง เพราะเซลสมองบางส่วนถูกทำลายด้วยฤทธิ์ของยาเสพติด
4. ระยะวิกฤติ ถึงระยะนี้แล้ว ผู้เสพจะเป็นทาสของยาเสพติด คิดถึงยาและสวงหายาเสพติดตลอดเวลา ไม่สนใจกิจกรรมอื่นๆ ไม่สามารถเรียนรู้หรือประกอบอาชีพได้ เกิดการล้มละลายทั้งชีวิตส่วนตัว การงาน และสังคม ผู้ติดยาจะไม่สามรรถช่วยเหลือตนเองได้ เป็นภาระต่อครอบครัวที่ต้องให้การดูแลและเลี้ยงดู

ตัวกระตุ้นให้เสพยา

ตัวกระตุ้น คือ เงื่อนไขหรือสิ่งที่ทำให้เกิดความอยากยา มีทั้งตัวกระตุ้นภายนอก และตัวกระตุ้นภายใน มีดังต่อไปนี้
1. บุคคล ได้แก่ เพื่อนที่ร่วมเสพยา ผู้ขายยาเสพติด
2. สถานที่ ได้แก่ สถานที่เสพยา สถานที่ซื้อขายยาเสพติด ดิสโก้เธค บาร์-คลับ
3. สิ่งของ ได้แก่ อุปกรณ์การเสพยา นิตยสารหรือภาพตัวกระตุ้นทางเพศ ดนตรีบางประเภท สื่อภาพยนตร์หรือโทรทัศน์เกี่ยวกับยาเสพติด
4. ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงวันหยุด หลังเลิกงาน วันเงินเดือนออก งานเลี้ยงฉลองต่างๆ เวลาที่เคยใช้ยาเป็นประจำ
5. อารมณ์ ได้แก่ ความกลัว ความโกรธ ความเหงา ความเบื่อหน่าย อารมณ์ซึมเศร้า
6. สิ่งเสพติดชนิดอื่น เช่น สุรา ยาอี ยาเลิฟ เป็นต้น
การติดสารเสพติด เกิดจาก การงานเงื่อนไขของสมอง (ที่ติดยา) ดังต่อไปนี้
พบตัวกระตุ้น ---> เกิดความคิดถึงสารเสพติด ---> เกิดอาการอยากเสพยา ---> ใช้สารเสพติด
ในการเลิกยา ผู้รับการบำบัดต้องเรียนรู้ที่จะแยกแยะตัวกระตุ้น และเรียนรู้เทคนิควิธีการในการหลีกเลี่ยงหรือจัดการกับตัวกระตุ้น เพื่อให้เลิกยาได้สำเร็จ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น