วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อันตรายจากสารระเหย

 สารระเหยเป็นสิ่งเสพติดที่ก่อให้เกิดพิษภัยในสังคมไทยปัจจุบันมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นสิ่งเสพติดที่หาได้ง่ายกว่าสิ่งเสพติดชนิดอื่น สารระเหยเป็นสารประกอบพวกไฮโดรคาร์บอนได้จากน้ำมันปิโตรเลียมและก็าซธรรมชาติ ใช้เเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประจำในสำนักงาน ได้แก่ ทินเนอร์ แลคเกอร์ กาว น้ำยาล้างเล็บ น้ำมันไฟแช็ก สีพ่น ฯลฯ 
สาเหตุการติดสารระเหย 
ถูกเพื่อนชักชวน อยากทดลอง ถูกล่อลวงให้เสพ ต้องการผ่อนคลายความเครียด ความทุกข์ เพราะขณะสูดดมสารระเหยจะรู้สึกสบายใจ ลืมทุกข์ ราคาถูก พกสะดวก บางรายติดสารระเหยจากอาชีพ เช่น ช่างทาสี พ่นสี
ลักษณะของผู้ติดสารระเหย
ในระยะแรกจะมีสภาพปกติแต่เมื่อเสพนานๆสุขภาพจะทรุดโทรม มีอาการมึนเมา ไอเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ น้ำมูกไหล ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เหม่อลอย ควบคุมตัวเองไม่ได้
พิษของสารระเหย
        แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. พิษเฉียบพลัน หลังจากเสพสารระเหย ผู้เสพจะรู้สึกเป็นสุข ร่าเริง ศีรษะเบา ต่อมาจะมีอาการเหมือนเมาสุรา พูดจาอ้อแอ้ ไม่ชัด ควบคุม ตัวเองไม่ได้ ระคายเคืองเยื่อบุภายในปากและจมูก น้ำลายไหลมา ต่อมามีฤทธิ์กดประสาททำให้ง่วงซึม หมดสติ ถ้าเสพในปริมาณมากอาจจะไปกดศูนย์หายใจ ทำให้ตายได้
2. พิษเรื้อรัง เป็นผลจากการสูดดมสารระเหยติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้อวัยวะต่างๆเสื่อม
1. ระบบทางเดินหายใจ ระคายเคือง มีเลือดออก หลอดลมและปอดอักเสพ
2. ระบบทางเดินอาหาร ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
3.ระบบประสาท วิงเวียน สับสน มือสั่น ตัวสั่น หลงลืม เซื่องซึม ความคิด อ่อนช้า นิสัยและอารมณ์เปลื่ยนแปลง
ระบบหัวใจและหลอดเลือด มีผลทำให้จังหวะการเต้นของหัวจผิดปกติ
ระบบกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อฝ่อลีบ จนถึงอัมพาต
พิษภัยของสารระเหยต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดความพิการ นอกจากนี้ผู้ติดสารระเหยยังก่อให้เกิดปัญหาสังคม และทำให้ประเทศชาติสูญเสียเยาวชนที่จะเป็นกำลังของชาติ จึงควรช่วยกันสอดส่องดูแลป้องกันและแก้ไขไม่ให้เยาวชนและประชาชนเสพสารระเหย
         การควบคุมและป้องกันการใช้สารระเหย
ตามพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 กำหนดการควบคุมและป้องกันการใช้สารระเหยดังนี้
1. ผู้ผลิตและผู้นำเข้าสารระเหยต้องจัดให้มีภาพเครื่องหมาย หรือ ข้อความ ผู้ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน 2 ปีปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
2. ห้ามมิให้ผู้ใดขายสารระเหยแก่ผู้ที่มีอายุไม่เกินสิบเจ็ดปี เว้นแต่เป็นการขายโดยสถานศึกษา เพื่อใช้ในการเรียนการสอน ผู้ฝ่าฝืนจำคุกไม่กินหนึ่งปี ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
3. ห้ามมิให้ผู้ใดขาย จัดหา หรือให้สารระเหยแก่ผู้อื่น ผู้ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกินสองปี ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
4. ห้ามมิให้ผู้ใดจูงใจ ชักนำ ยุยงส่งเสริมหรือใช้อุบายหลอกลวง ผู้ใดฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
5. ห้ามมิผู้ใดใช้สารระเหยบำบัดความต้องการของร่างกายหรือจิตใจ ผู้ใดฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน 2ปี ปรับไม่เกินสองหมื่อนบาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น