วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (Psychotropic Substances) หมายถึงวัตถุที่เป็นยา หรือไม่ใช่ยาที่ออกฤทธิ์เจาะจงต่อระบบจิตและประสาท สามารถเปลี่ยนสภาพอารมณ์และจิตใจของผู้ที่ได้รับวัตถุออกฤทธิ์เหล่านี้ ดังนั้นวัตถุออกฤทธิ์เหล่านี้ถึงแม้มีประโยชน์ทางการแพทย์มากมาย แต่โทษที่เกิดขึ้นหากใช้ไม่ถูกต้องก็มหาศาลเช่นกัน ดังนั้นการใช้วัตถุออกฤทธิ์จึงควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด และต้องได้รับการกำกับดูแลอีกระดับหนึ่งจากกระทรวงสาธารณสุข
คำจำกัดความ
ในพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 เรียกวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างสั้นๆว่า “วัตถุออกฤทธิ์” ซึ่งมีความหมายว่า วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นสิ่งธรรมชาติ หรือที่ได้จากสิ่งธรรมชาติหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นวัตถุสังเคราะห์ ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา
การจัดแบ่งประเภท
ในการจัดแบ่งประเภทของวัตถุออกฤทธิ์เพื่อการควบคุม พิจารณาจากความเสี่ยงของวัตถุออกฤทธิ์นั้นต่อการติดของประชากรและประโยชน์ในการรักษาโรค ตาม พรบ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 แบ่งประเภทของวัตถุออกฤทธิ์เป็น 4 ประเภท ดังนี้
วัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 เป็นสารที่มีศักยภาพในการก่อให้เกิดการใช้ยาในทางที่ผิด (Abuse) มีความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพสูงและไม่มีการใช้ในทางการแพทย์ ยาส่วนใหญ่มีฤทธิ์หลอนประสาท ได้แก่ Cathinone, DET, DMHP, Etryptamine. Methcathinone, Mescaline, Mescaline derivatives, Mescaline analog, 4-Methylaminorex, Parahexyl, PCE, PHP , Psilocine, Psilocybine, TCP, Tetrahydrocannabinol
วัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 เป็นยาที่มีศักยภาพในการก่อให้เกิดการใช้ในทางที่ผิดสูง มีอันตรายต่อสุขภาพมาก มีการใช้ในทางการแพทย์อยู่ในวงจำกัด ได้แก่ Amfepramone, Aminorex, Butorphanol, Brotizolam, Cathine, Ephedrine, Estazolam, Fencamfamin, Fenethyline,FlunitrazepamFlurazepam, Haloxazolam, Ketamine, Loprazolam, Lormetazepam, Mazindol, Methylphenidate, Mesocarb, Midazolam, N-Ethylamphetamine, Nimetazepam, Nitrazepam, Pemoline, Phenylpropanolamine, Phencyclidine, Phendimetrazine, Phenthermine, Pipradol, Pseudoephedrine (ยกเว้นแต่ที่เป็นส่วนผสมในตำรับยาสูตรผสมและตำรับยาเสพติดให้โทษ), Quazepam, Secobarbitol, TemazepamTriazolam, Zolpiden, Zopiclone, Zipeprol, Zaleplon
วัตถุออกฤทธิ์ประเภท 3 เป็นยาที่มีศักยภาพในการก่อให้เกิดการใช้ในทางที่ผิดปานกลาง มีอันตรายต่อสุขภาพปานกลาง แต่มีใช้ในทางการแพทย์มาก ได้แก่ Amobarbital, Buprenorphine, Butalbital, Cyclobarbital, Glutethimide, Meprobamate, Pentazocine, Pentobarbital
วัตถุออกฤทธิ์ประเภท 4 เป็นยาที่มีศักยภาพในการก่อให้เกิดการใช้ในทางที่ผิดต่ำ มีความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพน้อย มีการใช้ในทางการแพทย์มาก ได้แก่ Allobarbital, Alprazolam, Barbital, Benzophetamine, Bromazepam, Butobarbital, Camazepam, Chloral hydrateChlordiazepoxide, Chlophentermine, ClobazamClorazepate, Clorazepam, Clotermine, Clotiazepam, Cloxazolam, Diazepam, Delorazepam, Ethchlovynol, Ethinamate, Ethyllofazepate, Fenproporex, Fludiazepam, Halazepam, Inorganic bromide, Ketazolam, Lorazepam, Medazepam, Mefenorex, Methyprylon, Methylphenobarbital, Nordazepam, Oxazepam, Oxazolam, Perlapine, Phenobarbital, Pinazepam, Prazepam, Propylhexedrine, Pyrovalerone, Secbutabarbital, SPA, Tetrazepam, Tofisopam

การควบคุมตามกฎหมาย
วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ควบคุมการนำเข้าและจำหน่ายโดยกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรม และผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง เพื่อใช้ประโยชน์ในการรักษาพยาบาลสำหรับคนไข้หรือสัตว์ที่ตนบำบัดอยู่ โดยแพทย์ ทันตแพทย์ และสัตวแพทย์สามารถมีวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2, 3 และ 4 ไว้ครอบครองได้ในปริมาณที่กำหนดเท่านั้น เช่น Midazolam ให้มีได้เพียง 15 กรัม Pseudoehpedrine ให้มีได้เพียง 120 กรัม, Phentermine ให้มีได้เพียง 15 กรัม Diazepam ให้มีได้เพียง 10 กรัม, Lorazepam ให้มีได้เพียง 2 กรัม Alprazolam ให้มีได้เพียง 1 กรัม เป็นต้น หากมีปริมาณที่ครอบครองเกินกำหนด ก็มีการกำหนดบทลงโทษไว้เช่นกันเพราะถือว่าปริมาณส่วนเกินเป็นการมีไว้เพื่อขายโดยไม่ได้รับอนุญาต
สำหรับร้านขายยาที่ได้รับใบอนุญาตแผนปัจจุบันแล้ว และมีเภสัชกรอยู่ปฏิบัติการตลอดเวลาทำการสามารถขอรับใบอนุญาตขายวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 3 และ 4 ได้ แต่ห้ามจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 และ 2 โดยเด็ดขาด และในการจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 3 และ 4 นั้นมีการกำหนดเงื่อนไขไว้คือ (1) ขายให้แก่หน่วยราชการตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาเช่น สภากาชาด องค์การเภสัชกรรม (2) ขายโดยตรงให้แก่แพทย์ ทันตแพทย์ และสัตวแพทย์ (3) ขายให้ผู้มีใบสั่งยาของแพทย์ ทันตแพทย์ และสัตวแพทย์ โดยจ่ายตามใบสั่งยาได้เพียงครั้งเดียว ถ้าจ่ายซ้ำจะซ้ำได้ไม่เกิน 3 ครั้ง แต่ละครั้งจ่ายได้ไม่เกิน 30 วัน และใบสั่งแต่ละใบใช้ได้ไม่เกิน 90 วันนับแต่วันที่ออก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น