วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สารระเหย

    ความหมายของสารเสพติดและสารระเหย

องค์การอนามัยโลกได้ให้ความหมายของยาเสพติด หรือยาเสพติดให้โทษ ว่าหมายถึง ยาหรือสารที่สามารถมีปฏิกิริยาต่อร่างกาย ทำให้เกิดการติดยาทางร่างกายหรือจิตใจ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาของร่างกาย เมื่อหยุดใช้ยาจะเกิดอาการเนื่องจากการหยุดยา คือหงุดหงิด ตื่นเต้น หาวนอน น้ำมูกน้ำตาไหล เหงื่อออกมาก ขนลุก ตะคริว นอนไม่หลับ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศรีษะ
ในกรณีสารระเหย การติดทางจิตใจมีแน่นอน เนื่องจากผู้ที่จะเสพติดสารระเหยมักมีบุคคลิกภาพและสุขภาพจิตผิดปกติอยู่ก่อนแล้ว ต้องการใช้สารระเหยเพื่อหลีกเลี่ยงอารมณ์ซึมเศร้า กังวล ฯลฯ องค์การอนามัยโลกได้จัดตัวทำละลายที่ระเหยง่าย เช่น ethyl acetate ซึ่งพบในลูกโป่งวิทยาศาสตร์ และสารบางตัวเช่น thinners ซึ่งพบในกาวต่างๆ เป็นสารระเหยเป็นต้น เนื่องจากสารดังกล่าวเป็นปัญหาต่อการเสพติด


     สารระเหย (Volatile Substances)
สารระเหยหมายถึง สารประกอบอินทรีย์เคมีประเภท ไฮโดรคาร์บอน์ที่ได้มาจากน้ำมันปิโตรเลี่ยมและก๊าซธรรมชาติ เป็นสารที่ระเหยได้ง่ายในอุณหภูมปกติ สารเหล่านี้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ที่พบเห็นได้บ่อยๆ เช่น ทินเนอร์ แลคเกอร์
     สารระเหยเมื่อแบ่งตามคุณสมบัติทางกายภาพ แบ่งออกเป็น 3 พวกใหญ่ๆ คือ


1. สารระเหย (Volatile Substance) เป็นสารประกอบอินทรีย์เคมีที่ได้มาจากน้ำมันปิโตรเลี่ยมและก๊าซธรรมชาติ เป็นสารที่ระเหยได้ง่ายในอุณหภูมิห้อง จึงนิยมใช้กันมากในอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทางอุตสาหกรรมที่มีคุณสมบัติแห้งระเหยได้เร็ว


2. ตัวทำละลาย (Solvents) เป็นสารที่เป็นของเหลวใช้เป็นส่วนผสมทั้งในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทางอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือน เช่น เฮกเซน มีอยู่ในพลาสติก ซิเมนต์ โทลูอีน ไซลีน มีอยู่ในกาวติดเครื่องบินเด็กเล่น แลกเกอร์ ทินเนอร์ อะซิโตน ในรูปน้ำยาล้างเล็บ เบนซิน ในน้ำยาทำความสะอาด


3. ละอองลอย (Aerosol)
 ซึ่งจัดบรรจุในภาชนะที่ใช้สำหรับฉีด มีส่วนผสมของไฮโดร-คาร์บอน หรือ ฮาโลคาร์บอน พบมากในรูปของสเปรย์ฉีดผม สีกระป๋องสำหรับพ่น

สารระเหยที่ประกาศควบคุม รวม 19 ชนิด ตามพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ.2533 มาตรา 31  มีดังต่อไปนี้
1.ผลิตภัณฑ์ที่มีสารระเหยเป็นส่วนประกอบ ได้แก่
 1.1 ทินเนอร์
 1.2 แลคเกอร์
 1.3 กาวอินทรีย์สังเคราะห์
 1.4 กาวอินทรีย์ธรรมชาติ
 1.5 ลูกโป่งวิทยาศาสตร์ หรือลูกโป่งพลาสติก
2.สารระเหยที่เป็นสารเคมี 14 ชนิด ได้แก่
 2.1 โทลูอีน
 2.2 อาซีโทน
 2.3 เมทิลเอทิลคีโทน
 2.4 ไอโซโปรปิลอาซีโทน
 2.5 เอทิลอาซีเทต
 2.6 เซลโลโซล์ฟอาซีเทต
 2.7 เมทิลอาซีเทต
 2.8 นอร์มาลบิวทิลอาซีเทต
 2.9 เซคันดารีบิวทิลอาซีเทต
 2.10 นอร์มาล-บิวทิลไนไตรท์
 2.11 ไอโซ-บิวทิลไนไตรท์
 2.12 บิวทิลเซลโลโซล์ฟ
 2.13 เซลโลโซล์ฟ
 2.14 เมทิลเซลโลโซล์ฟ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น