วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ

แนวคิด
                1. ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 แบ่งยาเสพติดให้โทษ ออกเป็น 5 ประเภท ยาเสพติดให้โทษกฎหมายถือว่าเป็นทรัพย์อันผิดกฎหมายผู้ใดมีไว้ไม่ได้ หากฝ่าฝืนมีความผิดต้องได้รับโทษ
                2. ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษฐานที่มีความผิดสูงสุด คือ ฐานผลิต นำเข้าหรือส่งออก ซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 คือ เฮโรอีนเพื่อจำหน่าย
                ในภาวะสังคมปัจจุบันนี้ สิ่งที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสภาพสังคมอย่างหนึ่งคือ ยาเสพติด บรรดายาเสพติดทั้งหลายล้วนแต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนทั้งสิ้น หากประเทศใดมีพลเมืองที่ติดยาเสพติดเป็นจำนวนมาก ก็จะเป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพราะผู้ที่ติดยาเสพติดจะเป็นบุคคลที่เสื่อมทั้งสติปัญญา และความสามารถที่จะกระทำกิจการงานใดๆ นอกจากไม่สามารถประกอบอาชีพของตนให้ก้าวหน้าแล้ว ยังเป็นภาระและเป็นปัญหาของสังคมตลอดจนประเทศชาติด้วย
                ขณะนี้นักเรียนเป็นเยาวชนของชาติ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของชาติในด้านต่างๆ ในอนาคต กำลังอยู่ในวัยที่อยากทดลองสิ่งแปลกใหม่ๆ เมื่อมีผู้ชักชวนให้เสพยาติดก็อาจจะทดลองโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และอาจติดยาเสพติดไปโดยไม่รู้ตัว จึงควรที่จะได้รู้ถึงอันตรายอันเกิดจากยาเสพติดไว้บ้าง
1. อันตรายของยาเสพติดให้โทษ
                1.1 ทำลายสุขภาพ ยาเสพติดส่วนใหญ่จะออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางทำให้การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายเสื่อมลงทำให้สุขภาพทรุดโทรม ร่างกายซูบผอม น้ำหนักลดอ่อนเพลียไม่มีแรงในการทำงาน เกียจคร้าน เฉื่อยชา ถ้าเป็นนักเรียน ก็ไม่อยากเรียนหนังสือ เบื่อหน่ายในการเรียน มีบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งทำให้ผู้อื่นเกิดความไม่เชื่อถือหรือไม่ไว้วางใจในการที่จะทำงานร่วมด้วย
                1.2 ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เพราะการควบคุมทางกล้ามเนื้อและระบบประสาทบกพร่อง ทำให้สมองมึนชา มึนงง ขาดความว่องไวในการตัดสินใจแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า ถ้าผู้ติดยาเสพติดขับขี่พาหนะ นอกจากจะทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเองแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อผู้อื่นด้วย               
                1.3 เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย เพราะมีความต้านทานโรคน้อย ติดเชื้อได้ง่าย และในปัจจุบันมีโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันบกพร่องแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วนั้น ผู้ที่ติดยาเสพติดก็เป็นบุคคลจำพวกหนึ่งที่ทำให้โรคนี้แพร่ไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน
                1.4 จิตใจไม่ปกติ ผู้ที่ติดยาเสพติดมักมีอาการอยากยา อารมณ์ไม่ปกติ บางครั้งเชื่องซึมบางครั้งคลุ้มครั่ง กระวนกระวาย เป็นหาทางนำไปสู่ปัญหาอาชญากรรมได้ง่าย เนื่องจากต้องการเงินมาใช้ในการซื้อยามาเสพ
                นอกจากยาเสพติดที่เป็นอันตรายแล้ว ยังมีสิ่งเสพติดที่แพร่กระจายไปยังชุมชนอย่างมากในปัจจุบันนี้ คือ น้ำมันระเหยหอม ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในด้านการอุตสาหกรรม แต่ถ้าสารระเหยหมอเข้าสู่ร่างกายโดยการสูดดม โดยจงใจหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์มีปริมาณมากเกินไป ก็จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ สารเหล่านี้ ได้แก่ น้ำมันเบนซิน ทินเนอร์ผสมสี น้ำมันแลคเกอร์ น้ำมันก๊าด กาวชนิดต่างๆ ยาทาเล็บ น้ำยาซักแห้ง น้ำมันขัดเงา ฯลฯ ซึ่งสารเหล่านี้หากเสพติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำใหเกิดพิษต่อร่างกายเป็นพิษเฉียบพลัน มีอาการเมาคล้ายคนเมาสุรา วิงเวียน ภาพหลอน ประสาทหลอน ถ้าสูดดมเกิดขนาดอาจหมดสติถึงตายได้ เนื่องจากฤทธิ์ของน้ำระเหยหมอจะไปกดที่ศูนย์ควบคุมการหายใจในสมองทำให้หยุดหายใจ
                เมื่อนักเรียนรู้ว่า ยาเสพติดและสิ่งเสพติดประเภทน้ำมันระเหยหอมเป็นอันตรายต่อร่างกายแล้ว ก็ควรหลีกเลี่ยงที่จะทดลองและรู้จักปฏิเสธ เมื่อถูกผู้อื่นชักชวนไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม เพราะนอกจากจะเป็นการทำลายอนาคตของตนเองแล้วยังมีผลเสียต่อครอบครัว สังคม ประเทศชาติ  ดังนั้นกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เพื่อให้การปราบปรามและควบคุมยาเสพติดให้โทษเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยยาเสพติดให้โทษซึ่งประเทศเป็นภาคีสมาชิกอยู่
2. ความหมายของยาเสพติดให้โทษ
                ยาเสพติดให้โทษ หมายถึง สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลำดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรม และให้รวมถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษผสมอยู่
3. ลักษณะของยาเสพติดให้โทษ
                ยาเสพติดให้โทษมีหลายชนิด แต่ที่แพร่หลายในประเทศเป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพ ร่างกาย ตลอดจนความมั่นคงของประเทศ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน กัญชา กระท่อม ฯลฯ
                3.1 ฝิ่น เป็นยาเสพติดที่แพร่หลายก่อนที่ยาเสพติดชนิดอื่นๆ ฝิ่นสกัดได้จากยางของเปลือกผลฝิ่นดิบ ซึ่งมีลักษณะเป็นยางเหนียวสีน้ำตาลไหม้ เมื่อเคี่ยวสุกจะมีสีดำรสขมมีกลิ่นพิเศษเฉพาะตัว
                3.2 มอร์ฟีน เป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์ร้ายแรงกว่าฝิ่นประมาณ 10 เท่า สกัดได้จากฝิ่นมักทำเป็นผงสีขาวหรือเท่า ไม่มีกลิ่น รสขม ละลายน้ำได้ง่าย
                3.3 เฮโรอีน เป็นยาเสพติดให้โทษร้ายแรงที่สุด และเป็นพิษเป็นภัยแพร่หลายระบาดมากที่สุดในปัจจุบัน มีฤทธิ์และโทษรุนแรงกว่าฝิ่นประมาณ 100 เท่า รุนแรงกว่ามอร์ฟีนประมาณ 10 เท่าเฮโรอีนที่จำหน่ายในประเทศไทย มี 2 ชนิด
                        1) เฮโรอีนบริสุทธิ์ หรือเฮโรอีนเบอร์ 4 หรือผงขาว มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาวไม่มีกลิ่น รสขมจัด
                        2) เฮโรอีนผสม หรือเฮโรอีเบอร์ 3 หรือไประเหย โดยจะผสมสารอื่นปนไปด้วย มีลักษณะเป็นเกล็ด มีสีต่างๆ เช่น ม่วง แดง ส้ม เทา น้ำตาล เป็นต้น
                3.4 กัญชา เป็นพืชล้มลุก มีสารที่ทำให้เสพติด คือ ยางเรซินของดอกกัญชา และยางที่ออกจากใบของต้นกัญชาตัวเมีย กัญชามีฤทธิ์กระตุ้นทำให้ประสาทหลอนเห็นภาพผิดไปจากความเป็นจริง ความนึกคิดสับสน ประสาทมึนงง ถ้าเสพนานเข้าอาจกลายเป็นโรคจิตได้
                3.5 กระท่อม สารที่ทำให้เสพติดมีอยู่ในใบของกระท่อม มีฤทธิ์ทำให้ประสาทหลอน ประสาทมึนชา   ทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วเป็นเพียงส่วนหนึ่งของยาเสพติดให้โทษ ซึ่งนำมาเป็นเพียงตัวอย่างให้นักเรียนได้รับความรู้แต่เพียงย่อๆ
4. ประเทของยาเสพติดให้โทษ
                ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 แบ่งยาเสพติดให้โทษเป็น 5 ประเภท คือ
                1. ประเภทที่ 1 เป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน
                2. ประเภทที่ 2 เป็นยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน ฝิ่นยา โคคาอีน โคเคอีน
                3. ประเภทที่ 3 เป็นยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยา และมียาเสพติด ประเภทที่ 2 ผสมอยู่ด้วย ได้แก่ ยาเม็ดตกเบ็ด ซึ่งมีทิงเจอร์ฝิ่นการะบูนชนิดเข้มข้นเป็น   ส่วนผสม ยาแก้ไอน้ำเชื่อมมีทิงเจอร์ฝิ่นการะบูนเป็นส่วนผสม ฯลฯ
                4. ประเภทที่ 4 ยาเสพติดให้โทษที่ไม่ได้เข้าอยู่ในประเภท 1 – 4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม
5. ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ
                ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษแบ่งออกอย่างกว้างๆ ได้เป็น 5 ฐาน
                1. ฐานผลิต นำเข้า ส่งออก ซึ่งยาเสพติดให้โทษ
                2. ฐานจำหน่าย หรือมีไว้ในความคอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษ
                3. ฐานมีไว้ในความคอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ
                4. ฐานเสพยาเสพติดให้โทษ
                5. ฐานโฆษณาเพื่อการค้าซึ่งยาเสพติดให้โทษ
                เนื่องจากในปัจจุบันนี้มีผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอยู่เสมอ และมีบางคนถูกชักจูงให้ร่วมกระทำความผิดโดยความไม่รู้ และเมื่อถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับได้จะถูกดำเนินคดี ในที่สุดก็ต้องได้รับโทษตามกฎหมาย จึงขอยกตัวอย่างความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษที่พบเสมอและน่าสนใจดังนี้
                กรณีตัวอย่างความผิดฐานผลิต นำเข้า ส่งออก ซึ่งยาเสพติดให้โทษ
                1. ผู้ที่ผลิต นำเข้า ส่งออก ซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 เช่น เฮโรอีน โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ต้องถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิต
                2. ถ้าผู้ใดบังอาจผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทเฮโรอีน เพื่อจำหน่ายแล้ว กฎหมายได้กำหนดโทษไว้สถานหนักถึงประหารชีวิต
                3. ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ถ้ายาเสพติดให้โทษนั้นมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 100 กรัม ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต
                กรณีตัวอย่างความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ในความครอบครอง
                1. ผู้ที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น เฮโรอีนไว้ในความครอบครองมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท
                2. ผู้ที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ไว้ในคอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-20 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท  ถ้ามอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน นั้นมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่า 100 กรัมขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี จำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่  50,000-500,000 บาท
                3. ผู้ที่มียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 (กัญชา)ไว้ในความครอบครองต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท  ถ้ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-150,000 บาท
                กรณีตัวอย่างความผิดฐานเสพติดให้โทษ
                
1. ผู้ที่เสพยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (เฮโรอีน) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน-10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000-100,000 บาท
                2. ผู้ที่เสพยาเสพติดให้โทษประเภท 5 (กัญชา) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท
                กรณีตัวอย่างความผิดในฐานต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ยกขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนรู้ว่า ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดนั้น จะได้รับโทษสูงเพียงใดขึ้นอยู่กับฐานความผิดและประเภทของยาเสพติด เช่น โทษฐานจำหน่ายย่อมสูงกว่าโทษเสพหรือมียาเสพติดไว้ในครอบครอง ประเภทเฮโรอีน ก็ย่อมได้รับโทษสูงกว่ามีกัญชาไว้ในครอบครอง เป็นต้น
สรุปสาระสำคัญ
                1. ยาเสพติดให้โทษ หมายถึง สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลำดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรม และให้รวมถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย
                2. ยาเสพติดให้โทษมีหลายชนิด แต่ที่แพร่หลายในประเทศเป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพ ร่างกาย ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน และเฮโรอีน
                3. ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงที่สุดคือ เฮโรอีน
                4. ผู้ที่ผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทเฮโรอีน เพื่อจำหน่าย กฎหมายได้กำหนดโทษไว้สถานหนัก คือ ประหารชีวิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น